Page 124 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 124

๑๑๐







                  สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
                  ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวอยู่ในการครอบครองของบริษัท IRPC  ซึ่งมีบริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

                  จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๒

                  ก็ได้เลือกบ้านสวนกง ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันเป็นสถานที่ก่อสร้าง ใน
                  อนาคตหากมีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเต็มรูปแบบ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดตั้งนิคม

                  อุตสาหกรรมในพื้นที่บริเวณนี้

                                ๒) โครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมืองหาดใหญ่-สะเดา


                             ทางด่วนพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หาดใหญ่–สะเดา เป็นโครงการเร่งด่วนที่เสริมสร้าง
                  ความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค จากผลการทบทวนกลางทางของแผนที่นําทาง (Road  Map)  สามเหลี่ยม

                  เศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย  ปี พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๕๔ ทางด่วนดังกล่าวมีระยะทาง ๕๕ กิโลเมตร

                  เชื่อมต่อกับมาเลเซีย โดยเริ่มที่ด่านสะเดาที่บ้านด่านนอกผ่านบ้านทับโกบเข้าสู่อําเภอคลองหอยโข่ง ผ่าน
                  ไปใกล้สนามบินหาดใหญ่ แล้วตัดผ่านถนนหาดใหญ่-รัตภูมิ สายเก่า เชื่อมไปสู่นิคมอุตสาหกรรมฉลุง

                  และทางหลวงที่ ๔๓ มูลค่าโครงการ ๑๐,๐๕๕ ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่การออกแบบจนกระทั่ง

                  ก่อสร้างแล้วเสร็จใช้เวลา ๔ ปี และเปิดใช้เส้นทางอีก ๒๖ ปี รวมเป็น ๓๐ปี

                             ปัจจุบันธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเงินกู้

                  ดอกเบี้ยต่ําให้กับโครงการดังกล่าวด้วยวงเงิน ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และขณะนี้กรมทางหลวง

                  อยู่ในระหว่างทบทวนเรื่องการศึกษาออกแบบทางด่วนเส้นนี้ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
                  ได้นําโครงการเส้นทางมอเตอร์เวย์ หาดใหญ่-สะเดา ปรับใส่ไว้ในแผนแม่บทการทางพิเศษใหม่ที่มุ่ง

                  พัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งแผนนี้จะเริ่ม

                  ใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๗ การพัฒนาทางด่วนเส้นนี้ นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมเส้นทาง
                  ขนส่งชายแดนไทย-มาเลเซีย ยังเป็นการเตรียมที่จะรองรับการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม (ฉลุง) และ

                  เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ทับโกบ) ตามแนวเส้นทางนี้ในอนาคต

                                ๓) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา


                             เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดาก็อยู่ในโครงการเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างความ
                  เชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ซึ่งเป็นผลจากการทบทวนกลางทางของแผนที่นําทางสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

                  อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย  ปี พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๕๔ เช่นเดียวกับการสร้างทางด่วนพิเศษหาดใหญ่-สะเดา

                  ทั้งนี้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ร่วมกับสํานักงานวางแผนพัฒนา
                  เศรษฐกิจของมาเลเซีย จัดทําโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

                  บริเวณอําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย–บริเวณเมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129