Page 106 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 106
๙๒
๕.๒.๒ สถานการณ์กรณีร้องเรียนและโครงการพัฒนาภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรณีร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนา
ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการร้องเรียนทั้งชุดโครงการ โดยสรุปรายละเอียดของ
แต่ละโครงการได้ดังนี้
๑) โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อําเภอท่าศาลา และอําเภอหัวไทร
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ๒ โรง
กําลังผลิตโรงละ ๘๐๐ เมกะวัตต์ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณอําเภอหัวไทรและอําเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งโครงการวางแผนที่จะนําเข้าถ่านหินบิทูมินัสจากประเทศอินโดนีเซียหรือ
ออสเตรเลีย จึงต้องเลือกสถานที่ก่อสร้างโครงการเป็นชายฝั่งทะเลน้ําลึกเพื่อรองรับการขนส่งทางเรือ
ปัจจุบันการดําเนินโครงการทั้งหมดยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการในการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลกับ
ประชาชน การจัดการศึกษาดูงานให้กับผู้นําชุมชน หน่วยงานและข้าราชการในท้องถิ่น รวมทั้งการ
สนับสนุนงบประมาณไปยังกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น สาเหตุที่ชาวบ้านคัดค้านไม่เห็นด้วยกับ
โรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเหมือนกับที่
โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะจังหวัดลําปาง และมีผลกระทบต่อแหล่งประมงในพื้นที่อ่าวท่าศาลา รวมทั้ง
ปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง ๓๒๐ เมกะวัตต์ ซึ่งก็มีโรงไฟฟ้า
ขนอมด้วยกําลังการผลิต ๗๐๐ เมกะวัตต์ ที่เพียงพอสําหรับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัด
นครศรีธรรมราชอยู่แล้ว และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมปริมาณการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ ก็คิดเป็นเพียง
ร้อยละ ๘ ของทั้งประเทศ ประกอบกับการพิจารณาสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าของแต่ละภาคส่วน ก็พบว่า
ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดถึงร้อยละ ๔๕ ในขณะที่ภาคธุรกิจมีการใช้ไฟฟ้าร้อยละ ๒๕ ส่วน
ประชาชนและที่อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าร้อยละ ๒๑ และภาคเกษตรร้อยละ ๙ ดังนั้นภาคใต้และภาคประชาชน
ทั้งประเทศจึงใช้ไฟฟ้าน้อยมาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอุตสาหกรรม การที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เพิ่มทั้งในพื้นที่อําเภอท่าศาลาและอําเภอหัวไทร ถึง ๑,๖๐๐ เมกะวัตต์ จึงมีความเป็นไปได้ว่ามี
วัตถุประสงค์เพื่อที่จะเป็นพลังงานรองรับให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของภาคใต้
สําหรับโครงการโรงงานไฟฟ้าถ่านหินท่าศาลา กําหนดพื้นที่เป้าหมายการก่อสร้าง
ในหมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตําบลท่าขึ้น อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่
การเกษตร การประมง และชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชน ที่ผ่านมาชาวบ้านหลากหลายกลุ่มและสาขา
อาชีพได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา โดยรวมตัวจากกลุ่มเล็ก ๆ จากบ้านตะเคียนดํา
ตําบลท่าขึ้น ก่อนจะเป็นการรวมระดับอําเภอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือและแนวร่วมกับ
ทุกฝ่าย อันที่จะร่วมปกป้องผืนแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมไว้ให้ลูกหลานในอนาคต โดยมีจุดยืนของ
เครือข่ายรักษ์บ้านเกิด คือ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเครือข่ายได้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้า