Page 107 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 107

๙๓







                  ถ่านหินมาโดยตลอด ตั้งแต่การติดตามและเรียนรู้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรม
                  แสดงพลังในรูปแบบต่าง ๆ จนกระทั่งนําไปสู่เวทีรวมพลคนไม่เอาถ่านหิน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ได้มีการ

                  ร่วมลงนามสัญญาประชาชนระหว่างผู้นําท้องถิ่น ทั้งในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาร

                  ส่วนตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอําเภอท่าศาลา เพื่อร่วมแสดงจุดยืนว่าจะไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมถึง
                  เรียกร้องให้มีการย้ายศูนย์ประสานงานและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

                  ในพื้นที่ท่าศาลาออกไป แรงต้านดังกล่าวทําให้การดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใน

                  พื้นที่อําเภอท่าศาลายุติลง และเปลี่ยนเป้าหมายไปดําเนินการโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่อําเภอหัวไทรอีก ๑ โรง

                             ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร กําหนดพื้นที่เหมาะสมในการก่อสร้าง

                  โครงการ ๒  พื้นที่ คือ พื้นที่หมู่ที่ ๖  ตําบลเกาะเพชร อําเภอหัวไทร จํานวน ๒,๓๐๐  ไร่ และพื้นที่
                  ระหว่างหมู่ที่ ๖  ตําบลหน้าสตน และหมู่ที่ ๗  ตําบลเขาพังไกร อําเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

                  เนื้อที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ

                  สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โดย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จํากัด เพื่อที่จะ
                  นําไปจัดทํารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)  ในขั้นต่อไป แต่ผลจากการจัด

                  เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อกันยายน ๒๕๕๖ ชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้านจนกระทั่งเวที

                  ดังกล่าวไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ และได้มีการทําสัญญาลงนามร่วมกันระหว่างตัวแทนชาวบ้าน
                  ตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ตําบลหน้าสตน

                  ว่าจะยกเลิกโครงการ

                                ๒)  โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


                             สําหรับพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในห้าพื้นที่ของประเทศที่มีความ

                  เหมาะสมและเป็นทางเลือกของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีความ
                  พยายามในการผลักดันการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ แต่ก็ไม่เคยมีการบรรจุไว้ใน

                  แนวทางการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้มีการ
                  รวบรัดจัดทําแผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือแผนพีดีพี ๒๐๐๗ เป็นครั้งแรก จึงได้มีการ

                  กําหนดแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กําลังผลิตขนาด ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์ จํานวน ๒ โรง รวม

                  ๔,๐๐๐ เมกะวัตต์ แต่ต่อมาในแผนพีดีพี ๒๐๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๗๓ ได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มกําลังการ
                  ผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็น ๕,๐๐๐ เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าจํานวน ๕ โรง ขนาดกําลังการผลิตโรงละ

                  ๑,๐๐๐ เมกะวัตต์


                             ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการศึกษาสํารวจสถานที่
                  เหมาะสมต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จํานวน ๑๔ พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าพื้นที่เหมาะสมต่อการ

                  สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในภาคใต้ถึง ๑๒ พื้นที่ จนขณะนี้สํานักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112