Page 108 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 108
๙๔
นิวเคลียร์ (สพน.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการสํารวจศึกษาได้สรุปพื้นที่เหมาะสมเป็นทางเลือกไว้ ๕ พื้นที่
ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒ แห่ง
สําหรับพื้นที่นครศรีธรรมราชที่ถูกระบุว่ามีการเลือกไว้ ๑ พื้นที่ โดยไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ใดนั้น จาก
ขั้นตอนการลงสํารวจพื้นที่ก่อนนี้พบว่าเจ้าหน้าที่ได้ทําการสํารวจใน ๓ อําเภอ รวม ๕ พื้นที่ ได้แก่
อําเภอขนอม ๔ พื้นที่ คือ ตําบลท้องชิง ตําบลท้องเนียน ตําบลท้องน้อย และตําบลอ่าวเตล็ด ทั้งที่
อําเภอสิชลอีก ๑ พื้นที่ คือ ตําบลทุ่งใส แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ประเทศ
ญี่ปุ่นเกิดอุบัติเหตุ ทําให้โครงการที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศไทยชะลอการดําเนินการ
โครงการออกไป
๓) นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและท่าเรืออุตสาหกรรม
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ดําเนินการว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง
เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จํากัด ศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการ
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ แล้วเสร็จเมื่อธันวาคม ๒๕๕๑ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่
เหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ใน ๒ พื้นที่ คือ (๑) นิคม
อุตสาหกรรมสิชล ตําบลทุ่งปรัง อําเภอสิชล ประกอบด้วยพื้นที่โรงกลั่นน้ํามันและคลังน้ํามัน ๓,๙๐๐ ไร่
พื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ๖,๐๐๐ ไร่ (๒) นิคมอุตสาหกรรมท่าศาลา ตําบล
กลาย อําเภอท่าศาลา ซึ่งกระทรวงพลังงานระบุว่า จะเร่งดําเนินการก่อสร้างโรงกลั่นน้ํามันเพื่อรองรับ
น้ํามันที่มาจากการขนส่งระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันตกจากบริเวณพื้นที่ปากบารา จังหวัดสตูล และพื้นที่
ทับละมุ จังหวัดพังงา มายังโรงกลั่นน้ํามันที่อําเภอท่าศาลา โดยขนส่งทางท่อ รถไฟ และรถบรรทุก
นอกจากนี้ในรายงานการศึกษายังได้พิจารณาถึงพื้นที่เหมาะสมสําหรับการสร้าง
ท่าเรือน้ําลึกเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรม จากการพิจารณาปัจจัยในการคัดเลือกพื้นที่ ๙ ประการ คือ
๑) ความลึกของท้องทะเล ๒) ลักษณะคลื่น และลม ๓) การพัดพาตะกอน และการตกตะกอนในร่องน้ํา
๔) การใช้ที่ดิน ๕) สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ๖) พื้นที่หลังท่าเรือ ๗) โครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงกับท่าเรือ
๘) สาธารณูปโภคที่รองรับท่าเรือ ๙) ระยะทางจากพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม ผลการศึกษา
สรุปพื้นที่เป็นไปได้ในการสร้างท่าเรือและพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมไว้ คือ โครงการก่อสร้างท่าเรือ
อุตสาหกรรมอําเภอสิชล ซึ่งกําหนดพื้นที่เหมาะสมจะสร้าง คือ บ้านคอเขา ตําบลทุ่งปรัง อําเภอสิชล
โดยจะสร้างตามแบบที่ได้เคยมีการดําเนินการศึกษาความเป็นไปได้ไว้ในโครงการ Feasibility Study on
the Southern Seaboard Port and Industrial Complexes Development Project โดย
Moffatt and Nichol Int et. al. (๑๙๙๘) ซึ่งได้เคยศึกษาไว้ในพื้นที่ตําบลทุ่งไส อําเภอสิชล และได้
เสนอทางเลือก ๒ รูปแบบคือ