Page 127 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 127
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 125
คว�มเห็นของคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนประจำ�กติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิท�งก�รเมือง (HRC)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง (HRC) ในการพิจารณาในกรณีนี้มีข้อสังเกตว่า ข้อจำากัดใดๆ ต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพใน
การแสดงความเห็นและการแสดงออกต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
v เป็นข้อจำากัดที่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
v เป็นข้อจำากัดที่ชอบธรรมและจำาเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่น หรือ
คุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ หรือดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม หรือคุ้มครอง
ด้านสาธารณสุขหรือศีลธรรม
การจำากัดเสรีภาพในการแสดงออกกรณีนี้ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่
หากนำาหลักการนี้มาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงในกรณีนี้ คณะกรรมการมีข้อสังเกตว่า
ข้อจำากัดที่ควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อจำากัดดังกล่าวมีความชอบธรรมและจำาเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์แห่งความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่
คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า ผู้เขียนได้กล่าวปราศรัยด้านการเมืองและเผยแพร่เอกสารด้าน
การเมือง
คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า จากข้อเท็จจริงและข้อถกเถียงในกรณีนี้ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า
ข้อเขียนที่มีความเห็นทางการเมืองของนายคิมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ ไม่เป็นที่ชัดเจน
ว่าการเผยแพร่คำาปราศรัยและเอกสารจะส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้อ่าน และจะเป็นภัยคุกคามต่อความ
มั่นคงแห่งชาติ
เนื่องจากรัฐไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงลักษณะของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเผย
แพร่ทัศนะของนายคิม จึงไม่อาจถือได้ว่า ข้อจำากัดต่อเสรีภาพในการพูดครั้งนี้มีความชอบธรรมและ
จำาเป็น ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าการจับกุมและการตัดสินลงโทษนายคิม
เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกที่ได้รับการรับรองตามข้อบท ๑๙ ของกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political
Rights - ICCPR)
เสรีภ�พในก�รแสดงคว�มเห็นและก�รแสดงออกในไทย
ต่อไปนี้เป็นข้อความบางส่วนจากรายงานกรณีประเทศไทย จากรายงาน “เสรีภาพในโลก
ประจำาปี ๒๕๕๖” (Freedom in the World, 2013, Thailand Report)