Page 132 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 132
130 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
กรณีที่สำาคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่ทำางานคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม ได้แก่ การดำาเนินคดีต่อน.ส.บุญรอด สายวงศ์ นายสุนทร บุญยอด และ น.ส.จิตรา
คชเดช ผู้นำาสหภาพแรงงานสามคน ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ผู้นำาแรงงานทั้งสามคนพร้อมกับ
คนงานหญิงอีกประมาณ ๓๐๐ คน ได้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบที่หน้ารัฐสภาและทำาเนียบรัฐบาลที่
กรุงเทพฯ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลดำาเนินการช่วยเหลือคนงาน ๒,๐๐๐ คนที่ถูกปลดโดยโรงงานไทรอัมพ์
อินเตอร์เนชั่นแนล
ตำารวจได้ตอบโต้ผู้ชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล (Long Range Acoustic Device
- LRAD) ซึ่งทำาให้เกิดเสียงดังและทำาให้เจ็บหู เพื่อสลายการชุมนุม ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
พนักงานอัยการได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้นำาทั้งสามคนตามมาตรา ๒๑๕ และ ๒๑๖ ตามประมวล
กฎหมายอาญาในข้อหาใช้กำาลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำาลังประทุษร้าย หรือกระทำาการอย่างหนึ่ง
อย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งตามกฎหมายเหล่านี้ ผู้นำาทั้งสามคนอาจต้องโทษจำาคุก
ไม่เกินห้าปี และอาจถูกปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ศาลอาญาได้อ่านคำาพิพากษาโดยมีข้อสังเกตว่า แม้จะมี
ผู้ประท้วงกว่า ๓๐๐ คนปิดถนน แต่ไม่เป็นการรบกวนต่อสภาพการจราจรโดยรวม ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกัน
เรียกร้องผู้นำารัฐบาลให้ออกมาพบปะกับพวกเขา และเพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีที่มีการปลดคนงาน
ของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล การกระทำาของผู้ประท้วงไม่ได้มีความประสงค์ที่เป็นการใช้กำาลัง
ประทุษร้ายหรือก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ด้วยเหตุดังกล่าว ศาลจึงยกฟ้องคดีต่อผู้นำา
แรงงานทั้งสามคน
ดังนั้น การที่ศาลได้ยกฟ้องการดำาเนินคดีกับผู้นำาแรงงานทั้ง ๓ คน แสดงให้เห็นว่า ศาลยอมรับ
สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ