Page 128 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 128

126 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ฟื้นฟูหลักประกันสำาหรับเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเคย

                         ถูกสั่งห้ามภายหลังการทำารัฐประหาร เมื่อปี ๒๕๔๙ แม้ว่าการใช้กฎหมายเพื่อปราบปราม
                         เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาผิดเกี่ยวกับ

                         คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำาหนดบทลงโทษจำาคุกที่รุนแรงต่อการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูล
                         อันเป็นเท็จ ซึ่งถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณะหรือความมั่นคงแห่งชาติ  ในช่วงหลายปีที่

                         ผ่านมา รัฐบาลได้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์จำานวนมาก โดยกล่าวหาว่ามีการหมิ่นพระบรม
                         เดชานุภาพ แม้จะเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในปี ๒๕๕๕ การปิดกั้นดังกล่าวก็ยัง

                         ไม่ยุติลงอย่างสิ้นเชิง แต่ทางการได้ผ่อนคลายข้อจำากัดที่มีต่อเว็บไซต์และสถานีวิทยุชุมชน
                         ของคนเสื้อแดงบางส่วน แต่ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลต่อท่าทีที่ไม่

                         เป็นคุณกับสื่อมวลชนและศิลปินที่อยู่อีกขั้วการเมืองหนึ่ง รวมทั้งคำาสั่งห้ามฉายภาพยนตร์
                         เชคสเปียร์ต้องตายเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๕ โดยเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากบทละคร

                         Macbeth และถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ต่อทักษิณ

                         รัฐบาลและกองทัพยังคงควบคุมการออกใบอนุญาตและการเผยแพร่สัญญาณของสถานี
                         โทรทัศน์หลักหกแห่ง และคลื่นวิทยุทั้ง ๕๒๕ คลื่นในประเทศไทย ในขณะที่สถานีวิทยุชุมชน

                         ส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาต สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน และมีข้อจำากัดในการดำาเนิน
                         งานน้อยกว่าสื่อวิทยุและโทรทัศน์  อย่างไรก็ตาม สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่มักแสดงจุดยืนเป็น

                         ขั้วการเมืองอย่างชัดเจน

                         การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเข้มงวด นับแต่การทำารัฐประหารเมื่อ

                         ปี ๒๕๔๙ ทำาให้เกิดความกังวลโดยทั่วไป และเป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออกของ
                         สื่อมวลชน สืบเนื่องจากการขาดความโปร่งใสในคดีต่างๆ เหล่านี้ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีคดี

                         หมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้าสู่การไต่สวนในปี ๒๕๕๕ กี่คดี แต่จากข้อมูลเดิมคาดว่าจะมี
                         หลายร้อยคดี  กฎหมายของไทยมีข้อห้ามอย่างเข้มงวดต่อการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัติย์

                         แต่ทางการมักใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อปราบปรามนักเคลื่อนไหว นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา
                         ผู้สือข่าว นักเขียนต่างชาติ และนักการเมืองที่มักวิจารณ์รัฐบาล ส่งผลให้สื่อมวลชนเซ็นเซอร์

                         ตัวเองมากขึ้น  จำาเลยในคดีนี้อาจต้องโทษจำาคุกหลายสิบปีถ้าเป็นความผิดหลายกระทง
                         เฉพาะคดีที่มีการกดดันผ่านสื่อมวลชนและการเคลื่อนไหว ศาลถึงจะปราณีลดโทษให้จำาเลย

                         ในคดีนี้สำาหรับปี ๒๕๕๕ ได้แก่ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย
                         ธรรมศาสตร์ ซึ่งมักตั้งคำาถามต่อกฎหมายที่ใช้ฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่วนอีก

                         บุคคลหนึ่ง ได้แก่ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการ ซึ่งเพิ่งจะถูกศาลตัดสินลงโทษ
                         จำาคุกเป็นเวลาหลายปี

                         (Freedom House เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังอิสระ ซึ่งทำางานเพื่อส่งเสริมเสรีภาพทั่วโลก)
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133