Page 131 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 131
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 129
ก. เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และ
ข. มีความจำาเป็นต่อสังคมประชาธิปไตยที่จะต้องคุ้มครองสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่น
หรือคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ หรือดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม หรือ
คุ้มครองด้านสาธารณสุขหรือศีลธรรม
คณะกรรมการฯ พิจารณากรณีนี้ตามหลักการทั้งสามข้อ และมีข้อสังเกตว่าสอดคล้องกับ
ข้อกำาหนดแรก กล่าวคือ ข้อจำากัดที่รัฐนำามาใช้สอดคล้องกับกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัด
กิจกรรมสาธารณะ อย่างไรก็ตาม การกระทำาของรัฐไม่สอดคล้องกับข้อกำาหนดที่สอง กล่าวคือ รัฐไม่
สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า เหตุใดข้อจำากัดต่อสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของผู้ร้องเป็นสิ่งจำาเป็น เพื่อ
คุ้มครองสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่น หรือคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ หรือดูแลให้เกิดความสงบ
เรียบร้อยในสังคม หรือคุ้มครองด้านสาธารณสุขหรือศีลธรรม
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ คณะกรรมการจึงขอ
ให้รัฐดำาเนินการเยียวยาอย่างเป็นผลให้กับผู้ร้องโดยทันที และให้มีการทบทวนพระราชบัญญัติว่าด้วย
การจัดกิจกรรมสาธารณะ และการยื่นคำาร้องขออนุญาต ทั้งนี้เพื่อประกันให้สอดคล้องกับสิทธิในการ
ชุมนุมโดยสงบและสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก
กรณีต่�งๆ ในประเทศไทย
Frontline Defenders เป็นมูลนิธิระหว่างประเทศที่ทำางานเพื่อคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
๓๘
มีข้อสังเกตดังนี้
ชุมชนสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีชีวิตชีวาและเข้มแข็ง แม้จะยังมีผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่
ถูกคุกคาม ถูกทำาร้ายร่างกาย ถูกควบคุมตัวโดยพลการ ถูกฟ้องร้องคดี และถูกสังหารนอก
กระบวนการกฎหมาย ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงมากสุด ได้แก่ ผู้ที่ทำางานกับ
ผู้อพยพเข้าเมืองโดยเฉพาะตามแนวพรมแดนกับพม่า ผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนซึ่งทำางานในพื้นที่ขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้
ผู้พิทักษ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีความเสี่ยงมากสุด โดยเฉพาะผู้ที่ทำางานใน
พื้นที่ห่างไกล และมีข้อจำากัดในการเข้าถึงเอ็นจีโอระดับประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งมัก
ตั้งอยู่ที่เมืองหลวง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รวบรวมกรณีการสังหาร
นอกกระบวนการกฎหมายต่อผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ๓๕ กรณีในระหว่างปี ๒๕๔๖-๒๕๕๕ ใน
จำานวนนี้เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนประมาณ ๓๐ คนซึ่งทำางานเกี่ยวข้องกับสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม และหลายกรณียังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างเหมาะสมจากทางการ
๓๘ http://www.frontlinedefenders.org/thailand