Page 130 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 130
128 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๘. สิทธิในเสรีภ�พในก�รชุมนุมโดยสงบ (Right to freedom of assembly)
บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ การชุมนุมสามารถกระทำาได้ในห้องประชุมปิด
ภายนอกอาคาร และพื้นที่สาธารณะหรือของเอกชน การชุมนุมสามารถเคลื่อนที่หรืออยู่กับที่ได้
การละเมิดสิทธิปรากฏขึ้นเมื่อประชาชนถูกจำากัดสิทธิในการจัดการชุมนุมโดยสงบและข้อจำากัดที่ว่านั้น
v ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ และ
v ไม่สามารถหาเหตุผลสนับสนุนได้ว่าเป็นเรื่องจำาเป็นในสังคมประชาธิปไตยที่จะต้อง
กระทำาเพื่อคุ้มครอง
b สิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น หรือ
b เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ การคุ้มครองประชาชนในด้านความ
ปลอดภัย การสาธารณสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ก�รอภิปร�ยกรณีก�รปฏิเสธสิทธิที่จะจัดก�รชุมนุมโดยสงบ
ในกรณีนี้ ผู้ร้องต้องการจัดการประชุมว่าด้วย “ประเทศเบลารุสที่เป็นอิสระและเจริญรุ่งเรือง”
ตามข้อกำาหนดในมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดกิจกรรมสาธารณะ (Law on Mass
Events) พวกเขาได้ยื่นคำาร้องเพื่อขออนุญาตจัดการประชุมขึ้น ในคำาร้องระบุรายละเอียดที่จำาเป็น
อย่างเช่น วันที่ สถานที่ ช่วงเวลาของการประชุม จำานวนผู้เข้าร่วม มาตรการที่ใช้เพื่อประกันความสงบ
เรียบร้อยของสาธารณะและความปลอดภัย บริการรักษาพยาบาลอและการทำาความสะอาดในพื้นที่
หลังการประชุมสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม รัฐปฏิเสธไม่อนุญาตให้มีการจัดการประชุม หลังจากผู้ร้อง
ได้ร้องเรียนผ่านกลไกยุติธรรมในระดับชาติทั้งหมดแล้ว จึงได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชน โดยได้เน้นย้ำาในสองประเด็น
ก. การที่รัฐห้ามการจัดการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการแทรกแซงสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ
และ
ข. การแทรกแซงครั้งนี้ครอบคลุมการกำาหนดข้อจำากัดที่ไม่ชอบธรรมเพื่อขัดขวางสิทธิในการ
ชุมนุมโดยสงบ ซึ่งได้รับการรับประกันตามข้อบท ๒๑ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง (HRC) ได้พิจารณาคำาถามทั้งสองข้อ และมีข้อสังเกตว่าข้อจำากัดดังกล่าวอาจกระทำาได้
เพื่อควบคุมสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ก็เฉพาะต่อเมื่อ