Page 119 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 119
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 117
๒๕๔๗ หนึ่งวันก่อนจะหายตัวไป ทนายสมชายยื่นคำาร้องต่อศาลระบุรายละเอียดการ
ทรมานลูกความทั้งห้าคน เขาอ้างว่าการกระทำาดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของลูกความ
และละเมิดประมวลกฎหมายอาญาซึ่งห้ามไม่ให้มีการทรมาน เขายังแสดงความเห็นต่อ
สาธารณะและอย่างจริงจังในกรณีนี้ โดยกล่าวหาว่า ตำารวจกระทำาความผิดอย่างร้ายแรง
ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ หนึ่งวันหลังจากเขายื่นคำาร้อง ตำารวจห้านายได้ลากตัวทนาย
สมชายออกจากรถใจกลางกรุงเทพฯ จากนั้นไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย
รูปแบบอาชญากรรมในลักษณะของการบังคับบุคคลให้สูญหายเช่นนี้ มักทำาให้กระบวนการ
เยียวยาเป็นไปโดยยากลำาบาก ในกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายของทนายสมชาย
นีละไพจิตร หลังการต่อสู้ทางกฎหมายที่ยืดเยื้อยาวนานและการต่อสู้อย่างกล้าหาญของ
คุณอังคณา นีละไพจิตร และลูกๆ รวมทั้งนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายคน
ตำารวจห้านายซึ่งลากตัวเขาออกจากรถเมื่อเก้าปีที่แล้วยังคงลอยนวลอยู่นอกเรือนจำา และ
ไม่เหลือข้อกล่าวหาที่จะดำาเนินคดีกับพวกเขาได้อีก ในทุกขั้นตอนของการสืบสวนสอบสวน
ตำารวจพยายามทำาให้เกิดความสับสน ในขณะที่รัฐก็ขาดเจตจำานง (รวมทั้งผู้นำาระดับสูงสุด
ได้แก่ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร) ที่จะร่วมมือในการสอบสวน ทั้งยังมีการทำาลาย
พยานหลักฐาน ตามกฎหมายพยานหลักฐานของไทย หากไม่สามารถนำาศพมาพิสูจน์ได้
จะไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรม เป็นเหตุให้ตำารวจที่เกี่ยวข้องถูกดำาเนินคดีในข้อหา
ลักทรัพย์ (รถยนต์ของทนายสมชาย) และการข่มขืนใจ โดยศาลตัดสินให้ตำารวจเพียงคนเดียว
มีความผิด และจากปัญหาด้านพยานหลักฐานเพิ่มเติมเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดี
ต่อเขาเมื่อปี ๒๕๕๔ แต่ที่น่าตกใจกว่านั้นเกี่ยวกับคำาตัดสินของศาลอุทธรณ์ ได้แก่ การ
ปฏิเสธไม่ให้ผู้เสียหายและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดำาเนินการให้มีการรับผิดในคดีที่
ฟ้องร้องต่อผู้กระทำาความผิดคดีนี้ คุณอังคณา นีละไพจิตรและลูกได้ร้องสอดเป็นโจทก์
ร่วมกับพนักงานอัยการ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ครอบครัวสามารถดำาเนินการ
ทางกฎหมายในนามของผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ แต่ศาลอุทธรณ์มีคำาสั่งในคดีนี้
ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาว่าทนายสมชาย นีละไพจิตรเสียชีวิตแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว
ครอบครัวของเขาจึงไม่สามารถดำาเนินการแทนเขาได้ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การที่กฎหมาย
ไทยไม่มีความผิดเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหาย ทำาให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากที่จะ
นำาตัวผู้กระทำาผิดมารับโทษ ในปัจจุบัน คดีนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนของศาลฎีกา โปรดดู
รายละเอียดการรณรงค์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียในกรณีนี้ได้ ที่นี่
เพื่อหาทางเยียวยาความอยุติธรรมในกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหาย หลังการต่อสู้ผลักดัน
มาถึง ๒๕ ปี ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of
All Persons from Enforced Disappearance) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ และเปิด