Page 118 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 118

116 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้ทำาการบันทึก

                  ข้อมูลกว่า ๔๐ คดี ด้านการบังคับให้หายสาบสูญโดยไม่สมัครใจ โดยมีผู้ถูกกระทำากว่า ๕๙ คนในช่วง
                                    ๓๖
                  ปีพ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๔    คดีที่เป็นที่รับรู้ในกรณีคือ คดีของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้าน

                  สิทธิมนุษยชนที่หายตัวไปตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ สถานที่สุดท้ายที่เห็นตัวนายสมชายคือ อยู่ในช่วง
                  การดูแลของเจ้าหน้าที่ตำารวจ ไม่มีผู้ใดถูกตรวจสอบ แถลงการณของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  เอเชีย (Asian Human Rights Commission) ได้บันทึกความยากลำาบากของกระบวนการยุติธรรม
                  และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากกระบวนการด้วยความเคารพต่อประเด็นการบังคับให้หายสาบสูญโดยไม่

                  สมัครใจ



                  ประเทศไทย : ๙ ปีที่ปร�ศจ�กคว�มยุติธรรม เพื่อทน�ยสมช�ย นีละไพจิตร
                  วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๕๕ น.

                  แถลงข่าวโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission)
                  ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖

                  ประเทศไทย : ๙ ปีที่ปราศจากความยุติธรรม เพื่อทนายสมชาย นีละไพจิตร

                           ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖  โอกาสครบรอบเก้าปีการบังคับบุคคลให้สูญหาย กรณีทนาย
                           สมชาย นีละไพจิตร ผ่านไปแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียมีข้อสังเกตต่อวาระ
                           ครบรอบครั้งนี้ด้วยการแสดงความเสียใจอย่างต่อเนื่องกับการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณี

                           ทนายสมชาย นีละไพจิตร และความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อความล้มเหลวซ้ำาแล้วซ้ำาอีกในการ

                           ประกันความยุติธรรมให้กับคดีนี้ เป็นเก้าปีที่ผู้มีส่วนร่วมในการลักพาตัว ทำาร้ายและสังหาร
                           เขาไม่ต้องรับโทษ เป็นเก้าปีที่ครอบครัวของเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อให้นำาตัวผู้ก่อเหตุการ
                           บังคับบุคคลให้สูญหายในกรณีนี้มาลงโทษ รวมทั้งต่อสู้เพื่อให้เกิดความรับผิดต่อการบังคับ

                           บุคคลให้สูญหายกรณีอื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศไทย เป็นเก้าปีที่ภาคส่วนต่างๆ ของรัฐ

                           ไทยไม่แสดงให้เห็นถึงเจตจำานงที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งยังจงใจละเมิดสิทธิมนุษยชน
                           โดยไม่คำานึงถึงผลกระทบต่อบุคคลและหลักนิติธรรม

                           ทนายสมชาย นีละไพจิตร เป็นทนายความที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

                           ในช่วงที่หายตัวไป ทนายสมชายเป็นตัวแทนว่าความให้กับชายห้าคนซึ่งกล่าวหาว่าถูก
                           เจ้าหน้าที่ของรัฐทรมานระหว่างถูกควบคุมตัวที่จังหวัดนราธิวาส  หนึ่งในสามจังหวัด

                           ชายแดนใต้  และเป็นพื้นที่ตามประกาศกฎอัยการศึกตั้งแต่เดือนมกราคม  ๒๕๔๗  และตาม
                           พระราชกำาหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘ ในวันที่ ๑๑ มีนาคม






                  ๓๖  Enforced Disappearances in Thailand, Justice for Peace Foundation, May 2012
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123