Page 120 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 120

118 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                           ให้มีการลงนามเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และมีผลบังคับใช้เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓

                           อนุสัญญาฉบับนี้กำาหนดความผิดเกี่ยวกับการสูญหายของบุคคล และมีข้อเสนอแนะให้รัฐ
                           ดำาเนินการสืบสวนสอบสวน ฟ้องร้องคดี และเยียวยาแก้ไขความผิดที่เกิดขึ้น  รวมทั้งมีข้อ

                           เสนอแนะในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและครอบครัวของผู้สูญหาย  ไทยเป็นประเทศ
                           ล่าสุดที่ลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน

                           คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอสรุปด้วยการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกของคุณ

                           อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาหม้ายของทนายสมชายและประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
                           ซึ่งมีถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (AHRC-FOL-005-2556) ใน

                           จดหมายดังกล่าว คุณอังคณาขอบคุณรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการให้เงินเยียวยากับครอบครัว
                           นีละไพจิตรและครอบครัวผู้เสียหายจากการบังคับบุคคลให้สูญหายทั่วประเทศไทย และยัง

                           กระตุ้นให้รัฐบาลลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย
                           ในเวลาเดียวกันก็เน้นย้ำาถึงความจำาเป็นที่จะต้องมีความรับผิด


                             “ดิฉันขอแสดงความชื่นชมอย่างจริงใจที่รัฐบาลของท่านมีมติให้เยียวยาผู้ถูกละเมิด
                             สิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการกระทำาของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงกรณีการบังคับสูญหาย

                             ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการเยียวยาเป็นสิทธิสำาคัญประการหนึ่งของเหยื่อ
                             นอกเหนือจากสิทธิในการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรมและการสร้างหลักประกัน

                             ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะไม่เกิดซ้ำา แต่การเยียวยาด้วยเงินเพียง
                             อย่างเดียวไม่อาจขจัดความทรงจำาบาดแผลของเหยื่อให้หมดสิ้นไปได้ ดิฉันเชื่อว่า

                             เฉพาะการเข้าถึงความจริงและความยุติธรรมเท่านั้นที่จะเป็นการคืนศักดิ์ศรีให้กับ
                             เหยื่อและจะสามารถนำาสู่การให้อภัยและการปรองดองอย่างยั่งยืน”

                           คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียร่วมกับคุณอังคณา นีละไพจิตร และมูลนิธิยุติธรรม

                           เพื่อสันติภาพ จะยังคงเรียกร้องความยุติธรรมต่อการบังคับบุคคลให้สูญหาย กรณีทนาย
                           สมชาย นีละไพจิตร ต่อไป หากปราศจากความจริงและความรับผิด ความยุติธรรมก็ไม่อาจเกิด

                           ขึ้นได้  และหากปราศจากความยุติธรรม การลงนามในอนุสัญญาและการให้เงินช่วยเหลือ
                           เยียวยาครอบครัวผู้สูญหาย ก็เป็นเพียงการแสดงท่าทีที่ปราศจากความหมาย


                           เกี่ยวกับ AHRC :  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระดับ
                           ภูมิภาคที่ติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเอเชีย จัดทำาข้อมูลการละเมิดสิทธิและรณรงค์
                           ให้มีการปฏิรูประบบยุติธรรมและสถาบันเพื่อประกันการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเหล่านี้

                           คณะกรรมาธิการมีที่ตั้งอยู่ที่ประเทศฮ่องกงและก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี ๒๕๒๗
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125