Page 17 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 17
แห่งอนุสัญญานี้ จึงควรได้มีการศึกษาเพื่อทบทวน ปรับปรุงและแก้ไข
กฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว
๑.๑.๒ ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๑) คำาร้องและข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำาทรมาน
๑.๑) ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ (ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับคำาร้องเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของ
รัฐกระทำาทรมาน จำานวน ๘๘ คำาร้อง เป็นคำาร้องที่เกิดขึ้นพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ จำานวน ๖๘ คำาร้อง เป็นคำาร้องซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๒๐
๓
คำาร้อง ตัวอย่างคำาร้องที่อยู่ในข่ายการกระทำาทรมาน เช่น
๑.๑.๑) คำาร้องที่ ๑๐๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม
๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่ทหารนำาผู้ร้องไปสอบสวนคดีปล้นปืนที่ค่ายกรมหลวง
นราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส การสอบสวนใช้การข่มขู่ให้
สารภาพ เตะท้อง ชกที่หน้า กระแทกศีรษะด้วยเหล็กฉาก ใช้ไฟฟ้าช็อต
ใช้บุหรี่จี้ร่างกาย นำาสุนัขมาล่ามใกล้ๆ
๑.๑.๒) คำาร้องที่ ๔๕๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน
๒๕๕๐ จังหวัดยะลา ผู้เสียหายถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและ
เสียชีวิตในวันรุ่งขึ้น จากการตรวจร่างกายพบว่ามีบาดแผลจากการถูกยิง
และบาดแผลอื่นที่เกิดจากถูกตีด้วยของแข็งไม่มีคมหลายแห่ง ทำาให้
้
ปอดชำา ซี่โครงหัก
๑.๑.๓) คำาร้องที่ ๗๖๖/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจจับกุม
๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สิทธิในกระบวนการยุติธรรมในกรณีการตรวจสอบคำาร้องที่กล่าวหาว่า
มีการกระทำาทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่ไร้มนุษยธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้, พ.ศ. ๒๕๕๔,
หน้า ๑๖-๓๑.
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 15
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย