Page 101 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 101

•  ค.ศ.  ๑๙๘๙  สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  มีมติยอมรับพิธีสารเลือกรับ
                                     ฉบับที่ ๒ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                                     (Second  Optional  Protocol  to  the  ICCPR)  พิธีสารเลือกรับนี้

                                     มีวัตถุประสงค์ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
                                  •  ค.ศ. ๑๙๙๐ พิธีสารแห่งอนุสัญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Protocol to
                                     the American Convention on Human Rights) ได้รับความเห็นชอบ

                                     จากที่ประชุมใหญ่แห่งองค์การระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา  (General

                                     Assembly of Organization of American States) พิธีสารนี้กำาหนดให้
                                     ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตโดยเด็ดขาด  การใช้
                                     โทษประหารชีวิตจะสามารถใช้ได้ในยามสงครามเท่านั้น

                                  •  ค.ศ. ๑๙๙๓ ศาลอาชญากรสงครามระหว่างประเทศ (International War

                                     Crimes  Tribunal)  ได้ประกาศว่า  การลงโทษประหารชีวิตไม่ใช่ทางเลือก
                                     แต่สำาหรับอาชญากรรมที่โหดร้ายที่สุดและการทำาลายล้างเผ่าพันธุ์ (genocide)
                                  •  ค.ศ. ๑๙๙๕ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (UN Convention

                                     on the Rights of the Child) เริ่มมีผลบังคับใช้ อนุสัญญานี้ห้ามการลงโทษ

                                     ประหารชีวิตบุคคลที่มีอายุต่ำากว่า ๑๘ ปี ในขณะที่ประกอบอาชญากรรม
                                  •  ค.ศ.  ๑๙๙๙  คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                                     (UN  Commission  on  Human  Rights)  ได้ออกมติเรียกร้องให้บรรดา

                                     ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่จำากัดประเภทความผิดที่จะใช้

                                     โทษประหารชีวิตให้น้อยลงโดยมีจุดประสงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด
                                  •  ค.ศ.  ๒๐๐๑  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  (UNHCR)
                                     ได้เห็นชอบกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปที่ให้ประเทศต่าง ๆ หยุดการ

                                     ลงโทษประหารชีวิต เพื่อเป็นก้าวสำาคัญของการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต

                                  •  ค.ศ. ๒๐๐๒ คณะกรรมาธิการรัฐมนตรีแห่งสภายุโรป (Council of Europe’s
                                     Committee  of  Ministers)  มีมติยอมรับพิธีสารที่  ๑๓  นี้เป็นความตกลง
                                     ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายฉบับแรกที่กำาหนดให้ยกเลิกการใช้

                                     โทษประหารชีวิตในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น พิธีสารฉบับนี้ได้เปิดให้ประเทศ

                                     ในยุโรปลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ โดยในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ประเทศ
                                     ลงนามแล้ว ๓๖ ประเทศ (ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ, ๒๕๕๑)
                                  จากข้อกำาหนดของกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้องกับการ

                  ยกเลิกโทษประหารชีวิตดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                  ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำาคัญเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการเคารพสิทธิและเสรีภาพ
                  ในชีวิตของมนุษย์เป็นสำาคัญ  ดังจะเห็นได้จากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ






        88     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106