Page 47 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 47
จากลักษณะความผิดที่กำาหนดในกฎหมายดังกล่าว จะเห็นถึงแนวความคิดในการลงโทษ
ประหารชีวิตของประเทศไทย ในแง่ของพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์และความเป็นสมมติเทพ
ของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
และรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น มีการการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์
ทรงมีพระราชอำานาจสูงสุด ดังนั้น หากมีผู้ใดกระทำาการกบฏ ประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์จึงต้อง
รับโทษหนัก คือ โทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต นอกจากนี้ ในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
องค์สมมติเทพ หรือทรงเป็นองค์อวตารของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ และเป็นเจ้าชีวิตของ
ประชาชนทุกคนในสังคม ไม่ใช่บุคคลธรรมดาทั่วไป ดังนั้น การกระทำาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
จึงถือเป็นการกระทำาความผิดต่อเทพเจ้าด้วย เมื่อผู้ใดกระทำาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งทรง
เป็นองค์อวตารของเทพเจ้าจึงต้องถูกลงโทษ และต้องได้รับโทษสูงสุด คือ การประหารชีวิต
นอกจากนี้ แม้พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะทรงเป็น
องค์สมมติเทพ แต่ด้วยแนวความคิดและคติความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ยังคงฝังรากลึก
อยู่ในสังคมไทยเสมอมา พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงยึดหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา และ
พระพุทธศาสนายังคงเป็นศาสนาสำาคัญของประเทศไทยดังที่เคยเป็นมา ด้วยเหตุนี้ การกระทำา
ความผิดต่อสถาบันศาสนา เช่น การเผาพระอุโบสถ และสังฆาราม การฆ่าพระสงฆ์หรือสามเณร
โดยทารุณโหดร้าย หรือการกระทำาอันเป็นการลบหลู่สถาบันศาสนา เช่น การนำาพระพุทธรูป
มาทุบตีเหยียบย่ำา จึงเป็นการกระทำาความผิดอย่างร้ายแรงซึ่งต้องได้รับการลงโทษ และโทษ
ที่ลงนั้นย่อมต้องเป็นโทษหนัก คือ การต้องโทษประหารชีวิตเช่นเดียวกับการกระทำาความผิด
ต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นองค์สมมติเทพนั่นเอง
แม้กฎหมายเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะสูญหายไปมาก แต่จากกฎหมายตราสามดวง
ซึ่งได้ประมวลไว้ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ สามารถแสดงให้เห็นเค้าโครงการลงโทษ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ว่า เป็นการลงโทษเพื่อแก้แค้น ตอบแทน และข่มขู่ยับยั้ง เพราะมุ่งลงโทษ
ที่ตัวผู้กระทำาผิดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตในพระไอยการกระบดศึก อันว่าด้วยโทษ
ทวะดึงษ์กรรมกรณ์ ๓๒ ประการ ได้กำาหนดวิธีการประหารชีวิตหลายรูปแบบอย่างน่าสยดสยอง
(โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
สำาหรับวิวัฒนาการประหารชีวิตในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สามารถ
สรุปได้ดังนี้
การประหารชีวิตในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปกติใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ แต่ในกรณีกบฏ
ได้มีบทบัญญัติในลักษณะที่โหดร้ายทารุณอย่างยิ่ง ซึ่งเข้าใจว่ามุ่งหมายข่มขู่ให้เกรงกลัว และในกรณี
ลงโทษพระราชวงศ์ก็มีวิธีประหารชีวิตแตกต่างจากสามัญชน โดยโทษประหารชีวิตที่มี
ความรุนแรงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ โทษประหารชีวิต ๒๑ สถาน สมัยโบราณวิธีการประหารชีวิต
ตามพระไอยการกระบดศึก บันทึกและอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดถึงวิธีการลงโทษประหาร ๒๑ วิธี
หรือ ๒๑ สถาน
34 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ