Page 174 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 174

และงานวิจัยเรื่อง “เส้นทางชีวิตของนักโทษประหาร” ของสุมนทิพย์ จิตสว่าง (๒๕๕๖)
                     ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเส้นทางชีวิตของนักโทษประหารก่อนกระทำาผิด  ขณะกระทำาผิด

                     และขณะต้องโทษประหารชีวิต  เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำาผิดของนักโทษประหาร

                     และเพื่อศึกษาถึงความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตของนักโทษประหาร  โดยเป็นการวิจัย
                     เชิงคุณภาพ คัดเลือกนักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างเพศชาย ๖ คน และเพศหญิง ๔ คน รวม ๑๐ คน
                     ด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง  (Purposive  Sampling)  โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็น

                     เครื่องมือในการศึกษา

                             ผลการศึกษาพบว่า  นักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างมีเส้นทางชีวิตก่อนเป็นนักโทษประหาร
                     คือ  มีภูมิหลังเป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมไม่สูงมากนัก  ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ
                     ประถมศึกษา  มีรายได้ไม่เกิน  ๑๐,๐๐๐  บาท  มีเส้นทางชีวิตขณะกระทำาผิด  คือ  กลุ่มตัวอย่าง

                     ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากรอาชีพ  โดยกลุ่มตัวอย่าง

                     เกือบทั้งหมดกระทำาผิดเป็นครั้งแรกหากแต่เดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตของการเป็นนักโทษประหาร
                     เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่กดดันหล่อหลอมให้ประกอบอาชญากรรม คือ การคบเพื่อน การเรียนรู้
                     ทางสังคม การควบคุมตัวเองต่ำา รวมทั้งการไม่เกรงกลัวต่อโทษประหารขณะกระทำาผิด

                             สำาหรับเส้นทางชีวิตขณะต้องโทษพบว่านักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างมีความเกรงกลัว

                     ต่อโทษประหารชีวิต  ประสบความเครียดขณะต้องโทษจำาคุกเพื่อรอการประหาร  หรืออภัยโทษ
                     และประสบปัญหาครอบครัว ประสบปัญหาภายหลังต้องโทษประหารชีวิต



                             จากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักโทษประหารชีวิตของประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น

                     จึงแสดงให้เห็นว่านักโทษประหารของประเทศไทยส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่ใช่อาชญากรโดยกมลสันดาน
                     หากแต่มีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่พลั้งพลาด  หรือความไม่รู้กฎหมาย  ทำาให้ถูกทนายความ
                     หรือผู้อื่นหลอกจนกระทั่งต้องโทษประหารชีวิต

                             ดังนั้น  หากผู้ต้องโทษประหารชีวิตส่วนหนึ่งในประเทศไทย  ไม่ได้มีความเป็นอาชญากร

                     โดยกมลสันดานอย่างแท้จริง  หรือมีความเป็นอาชญากรโดยกำาเนิด  เป็นบุคคลที่ไม่ได้ก่อให้เกิด
                     อันตรายต่อสังคมอย่างแท้จริง  จึงมีความจำาเป็นที่จะต้องให้โอกาสแก่ผู้กระทำาผิดดังกล่าว
                     ได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟู เพื่อกลับตนเป็นคนดี เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศชาติ

                     ต่อไป  ซึ่งแนวทางในการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้กระทำาผิดดังกล่าวอาจเป็นหนทางที่

                     ไม่ถูกต้องเพราะการประหารชีวิตผู้กระทำาผิดดังกล่าว อาจทำาให้ผู้กระทำาผิดไม่มีโอกาสที่จะได้แก้ไข
                     ฟื้นฟูตนเองได้อีกเลย  ดังนั้น  แนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้ที่กระทำาผิดที่ไม่ได้
                     มีความเป็นอาชญากรอย่างแท้จริง  คือ  การยกเลิกโทษประหารชีวิต  หรือการเปลี่ยนแปลง

                     โทษประหารชีวิตเป็นโทษจำาคุก  เพื่อให้นักโทษประหารได้มีโอกาสกลับตนเป็นคนดีของสังคม

                     อีกครั้ง








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 161
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179