Page 172 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 172

รายใหญ่ที่ต้องโทษประหารชีวิตอาจมีความสอดคล้องกับการกระทำาผิดตามขอบเขตของอาชญากรรม
                     ร้ายแรง หากแต่การต้องโทษประหารชีวิตของผู้กระทำาผิดในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มักพิจารณา

                     จากปริมาณยาเสพติดเป็นสำาคัญ โดยผู้ที่กระทำาผิดส่วนหนึ่งอาจไม่ได้เป็นผู้ผลิต หรือผู้ค้ารายใหญ่

                     หากแต่เป็นเพียงลิ่วล้อที่รับจ้างขนยาเสพติดเท่านั้น ซึ่งบุคคลที่กระทำาผิดดังกล่าว หาใช่อาชญากร
                     โดยกมลสันดานที่ทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิตและยากต่อการแก้ไขฟื้นฟู แต่หากเพราะกฎหมายที่ได้กำาหนดโทษ
                     ไว้สูงทำาให้บุคคลที่กระทำาผิด แม้จะกระทำาผิดเพียงครั้งแรกก็ยากที่จะได้รับอภัย

                             เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการกำาหนดขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด

                     ดังกล่าวข้างต้น  หากประเทศไทยจะยังคงโทษประหารชีวิตไว้จึงต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายที่กำาหนด
                     อาชญากรรมร้ายแรงที่สุดที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความหมายของอาชญากรรม
                     ร้ายแรงที่สุดอย่างแท้จริง





                     ๔.๔  ลักษณะของนักโทษประห�รชีวิตในประเทศไทย




                             จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยในปัจจุบัน  ปรากฏว่า  มีผล

                     การศึกษาส่วนหนึ่งที่ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทย คือ


                              - นักโทษประห�รชีวิตส่วนหนึ่งไม่ได้มีลักษณะคว�มเป็นอ�ชญ�กรโดยกมลสันด�น

                             ลักษณะที่สำาคัญของนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยประการหนึ่ง  คือ  เป็นผู้ที่ไม่ได้

                     มีลักษณะความเป็นอาชญากรโดยกมลสันดาน กล่าวคือ ผู้ต้องโทษประหารชีวิตในประเทศไทยส่วนใหญ่
                     ต้องโทษในคดีที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติยาเสพติด หากแต่จากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แสดง
                     ให้เห็นว่านักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ที่มีกมลสันดานเป็นอาชญากร

                     อย่างแท้จริง  เนื่องจากเป็นผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติยาเสพติด  โดยอาจเป็นเพียงลิ่วล้อ

                     ที่รับจ้างส่งยาเสพติด  หรือเป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่มีปริมาณยาเสพติดมากในขณะที่จับกุมตัว  แต่หาใช่
                     ผู้ที่เป็นผู้ผลิต  หรือหัวหน้าขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่อย่างแท้จริง  รวมทั้งนักโทษที่ต้อง
                     โทษประหารชีวิตส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้กฎหมาย  โดยเชื่อฟังทนายความที่ให้ปฏิเสธ

                     ข้อกล่าวหา จนกระทั่งทำาให้แม้จะมีการฆาตกรรมเพียงคนเดียว รวมทั้งเป็นผู้ที่เคยถูกเหยื่อเป็นฝ่าย

                     ที่กระทำามาก่อนเป็นเวลานาน  หากแต่เมื่อเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาเป็นผู้กระทำาต่อเหยื่อกลับต้องโทษ
                     สูงสุดถึงประหารชีวิต  เพียงเพราะเชื่อทนายความที่ให้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา  เพราะต้องการเงิน
                     จากลูกความ  เป็นต้น  จนกระทั่งต้องทำาให้ผู้กระทำาผิดส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มีความเป็นอาชญากร

                     อย่างแท้จริงต้องได้รับโทษสูงสุด คือ โทษประหารชีวิต











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 159
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177