Page 171 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 171
แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ต้องโทษประหารชีวิต คือ ผู้ที่กระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
หรือการค้ายาเสพติดรายใหญ่อย่างแท้จริง การประหารชีวิตบุคคลดังกล่าว คือ การประหารชีวิต
ผู้ที่กระทำาผิดตามขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ
หากแต่สำาหรับผู้ที่ต้องโทษในคดียาเสพติดที่ต้องโทษประหารชีวิตโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทย
มักเกิดจากการครอบครองยาเสพติดไว้จำานวนมากตามที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องโทษประหารชีวิต
หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ต้องโทษประหารชีวิตที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยมักเกี่ยวข้อง
กับการกระทำาผิดในคดียาเสพติดโดยการครอบครอบยาเสพติด หากแต่ไม่ใช่ผู้ผลิต หรือผู้ค้า
รายใหญ่อย่างแท้จริงมากนัก โดยผู้ที่ถูกจับกุมและดำาเนินคดีส่วนหนึ่งมักเป็นลิ่วล้อในขบวนการ
ค้ายาเสพติด โดยอาจเป็นเพียงผู้รับจ้างลำาเลียง ขนยาเสพติด หรือเป็นผู้ค้ายาเสพติดที่ไม่ใช่
พ่อค้ารายใหญ่อย่างแท้จริง
จึงอาจกล่าวได้ว่า หากผู้กระทำาผิดในคดียาเสพติดที่ต้องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
เป็นผู้ผลิต หรือผู้ค้ารายใหญ่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างแท้จริง การประหารชีวิต
ผู้กระทำาผิดดังกล่าวก็มีความเหมาะสมตามขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงตามข้อกำาหนด
ขององค์การสหประชาชาติ หากแต่ปัจจุบันผู้ต้องโทษประหารชีวิตในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
มักเกิดจากการมียาเสพติดจำานวนมากไว้ในครอบครอง โดยอาจเป็นเพียงผู้รับจ้างส่งยาเสพติดเท่านั้น
ซึ่งไม่ใช่ผู้ผลิต หรือผู้ค้ายาเสพติดรายสำาคัญอย่างแท้จริง ซึ่งแม้ผลของการกระทำาผิดจะทำาให้เกิด
ผลกระทบต่อผู้เสพและประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกัน หากแต่ลักษณะพฤติกรรมการกระทำาผิด
ของบุคคลดังกล่าวข้างต้นมีความแตกต่างจากผู้ผลิต หรือผู้ค้ารายใหญ่ที่มีเจตนาในการกระทำาผิด
และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างชัดเจน ซึ่งหากมีการประหารชีวิตบุคคลที่เป็นผู้ผลิต
หรือผู้ค้ารายใหญ่ได้จะเป็นการตัดวงจรของค้ายาเสพติดให้หมดสิ้นไปที่ต้นเหตุ แต่หากมีการ
ประหารชีวิตผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำานวนมากไว้ หากแต่ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใหญ่อย่างแท้จริง
ก็ไม่อาจทำาให้การประหารชีวิตเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดแต่ประการใด
จึงอาจกล่าวได้ว่า หากประเทศไทยมีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้กระทำาผิดในคดี
ยาเสพติดที่มีลักษณะเป็นผู้ผลิต หรือผู้ค้ารายใหญ่อย่างแท้จริง จะเป็นการประหารชีวิตผู้ที่
กระทำาผิดในอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ แต่หากประหารชีวิต
ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำานวนมากที่เปรียบเสมือนลิ่วล้อของขบวนการค้ายาเสพติด ก็อาจ
เป็นการประหารชีวิตผู้ที่ประกอบอาชญากรรมที่ไม่ใช่กระทำาผิดในอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด
ตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ
ดังนั้น จากการกำาหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีกำาหนดโทษสูงสุด คือ การประหารชีวิต
ของประเทศไทยอาจไม่สอดคล้องกับข้อกำาหนดหรือขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดตามข้อ
กำาหนดขององค์การสหประชาชาติที่ได้กำาหนดว่า จะต้องเป็นการกระทำาผิดที่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเจตนา
ในการฆาตกรรมโดยมีผลของการกระทำา คือ ทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต เนื่องจากหากเป็นผู้ผลิตหรือ
158 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ