Page 167 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 167

๔.๒  สถ�นก�รณ์ก�รใช้โทษประห�รชีวิตในประเทศต่�ง ๆ ทั่วโลก




                           ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต  เนื่องจาก
                  หลายประเทศมองว่า  การลงโทษประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่โหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม  ขัดต่อ
                  หลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในการมีชีวิต (Right to Life) และหากมีความผิดพลาด

                  ในกระบวนการยุติธรรมก็อาจมีการลงโทษผู้ที่มิได้กระทำาความผิดได้ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิต

                  เป็นการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสแก้ไขฟื้นฟูตัวเอง  ดังจะเห็นได้จากประเทศส่วนใหญ่
                  ทั่วโลกมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต  กล่าวคือ  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  มีประเทศที่ยกเลิก
                  โทษประหารชีวิตจำานวน  ๑๔๐  ประเทศ  โดยยังมี  ๕๘  ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่

                  ซึ่งในประเทศเหล่านี้เพียงไม่ถึงครึ่งที่นำาโทษประหารชีวิตมาใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชีย

                  และตะวันออกกลางซึ่งรวมทั้งประเทศไทย
                           สำาหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ได้ให้ความสำาคัญต่อปฏิญญาสากลว่าด้วย
                  สิทธิมนุษยชน ข้อ ๕ ต่อสหประชาชาติ ที่กล่าวว่า

                           “บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้าย

                  ไร้มนุษยธรรม ย่ำายีศักดิ์ศรีไม่ได้”
                  และพิธีสารเลือกรับ  ฉบับที่  ๒  แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                  ทางการเมือง  ที่มุ่งหมายที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยเชื่อว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                  มีส่วนส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ไม่มีบุคคลที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของภาคี

                  ในพิธีสารฉบับนี้จะถูกประหารชีวิตได้
                           ดังปรากฏให้เห็นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  มาตรา  ๔
                  วางหลักว่า

                           “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ

                  ความคุ้มครอง”
                           และในมาตรา ๓๒ ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”



                           หากแต่ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็น

                  การฉีดสารพิษ  แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง  ๆ  ทั่วโลก
                  ที่ให้ความสำาคัญกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดด้วยการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำาผิด
                  ประเทศไทยจึงได้มีการเตรียมความพร้อมในการยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยได้มีการจัดทำา

                  แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่  ๒  (พ.ศ.  ๒๕๕๒-๒๕๕๖)  ซึ่งแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  ฉบับที่  ๒  ได้กำาหนดตัวชี้วัดกลยุทธ์หลักนี้ไว้เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของแผน  ซึ่งหนึ่ง








       154     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172