Page 168 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 168

ในตัวชี้วัด  คือ  ต้องมีการผลักดันให้กฎหมายที่มีอัตราโทษประหารชีวิตได้เข้าสู่การพิจารณา
                     ของรัฐสภาให้มีการยกเลิกให้เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต

                             ซึ่งหากพิจารณาจากสถานการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

                     รวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสำาคัญต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ
                     เช่นเดียวกันดังกล่าวข้างต้น  ประเทศไทยจึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างจริงจัง
                     เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เป็นประเทศส่วนน้อยในโลกที่ยังคงใช้

                     โทษประหารชีวิตในการลงโทษผู้กระทำาผิด  นอกจากนี้  เพื่อตอบสนองต่อกระแสการคุ้มครอง

                     สิทธิมนุษยชนประชาชนในประเทศ  เนื่องจากการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดต่อ
                     สิทธิมนุษยชนของผู้กระทำาผิดที่ควรมีชีวิตอยู่  ควรได้รับการปฏิบัติด้วยการเคารพสิทธิและเคารพ
                     ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์





                     ๔.๓  ก�รใช้โทษประห�รชีวิตสำ�หรับอ�ชญ�กรรมร้�ยแรงที่สุด

                            (Most Serious Crime)




                             กฎหมายระหว่างประเทศที่กำาหนดเป็นกฎหมายพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี
                     ให้มีการกำาหนดโทษประหารชีวิต ได้แก่ มาตรา ๖ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
                     และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้กำาหนดในย่อหน้าที่ ๒ เกี่ยวกับ “อาชญากรรมร้ายแรง (Most

                     Serious Crime)” คือ ในประเทศที่ยังไม่ได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต การพิจารณาคดี

                     ตัดสินโทษประหารชีวิตจะถูกนำามาบังคับใช้สำาหรับอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมายที่มี
                     การบังคับใช้ในขณะที่ประกอบอาชญากรรม (International Commission against the Death
                     Penalty, 2013)

                             อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมร้ายแรงมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ตามวัฒนธรรม

                     ศาสนาและบริบททางการเมือง  มาตรา  ๖  ของ  ICCPR  ได้กำาหนดทิศทางของการยกเลิก
                     โทษประหารชีวิตจากการกำาหนดพันธะสัญญาระหว่างประเทศ  โดยได้กำาหนดขอบเขตของ
                     โทษประหารชีวิต คือ

                             “จะต้องไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมอื่นนอกจากอาชญากรรม

                     ที่กระทำาโดยเจตนาทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต  หรือการกระทำาที่มีผลอันตรายร้ายแรงอย่างที่สุด”  หรือ
                     อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมที่มีลักษณะคุกคามชีวิตเป็นพฤติกรรมที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมการกระทำาผิด
                     ที่ร้ายแรง

                             ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามของอาชญากรรมร้ายแรง คือ กรณี

                     การกระทำาผิดที่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาในการฆาตกรรมโดยมีผลของการกระทำา คือ ทำาให้ผู้อื่น








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 155
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173