Page 166 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 166
หากแต่ปัจจุบันแนวคิดในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่สำาคัญ คือ การแก้ไขฟื้นฟู
ผู้กระทำาผิด เนื่องจากมีความเชื่อต่อสาเหตุในการกระทำาผิดตามหลักปฏิฐานนิยม (Positive
School) ที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเปรียบเสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ หากแต่ต้องกระทำาผิด
เพราะสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่บีบบังคับให้ต้องกระทำาผิด (Determinism) อันนำาไปสู่แนวทาง
ในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟู เพราะเห็นว่าผู้ที่กระทำาผิดไม่ได้เป็นผู้ที่เป็นอาชญากร
โดยกำาเนิด หากแต่ต้องเป็นอาชญากรหรือกระทำาผิดเนื่องจากการถูกสภาพแวดล้อมรอบตัว
ที่บีบบังคับ หรือหล่อหลอมให้ต้องประกอบอาชญากรรม ดังนั้น ผู้กระทำาผิดจึงควรได้รับโอกาส
ในการบำาบัดแก้ไขฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป
เช่นเดียวกับนักโทษประหารที่แม้จะกระทำาผิดในคดีอุกฉกรรจ์ หรือมีพฤติกรรมการ
กระทำาผิดรุนแรงที่ต้องได้รับโทษสูงสุด คือ การต้องโทษประหารชีวิต หากแต่เมื่อพิจารณา
สาเหตุในการกระทำาผิดตามแนวคิดของสำานักปฏิฐานนิยม (Positive School) จะเห็นได้ว่า
นักโทษประหารต้องกระทำาผิดจนกระทั่งได้รับโทษประหาร อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบตัว
เป็นปัจจัยที่สำาคัญในการหล่อหลอม หรือบีบบังคับให้นักโทษประหารต้องกระทำาผิด อาทิ การค้า
ยาเสพติดเนื่องจากความยากจน หรือการฆาตกรรมเพราะมีความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่สามารถ
ควบคุมตัวเองได้ รวมทั้งการกระทำาผิดเพราะขาดโอกาสที่ดีทางสังคม เป็นต้น
ดังนั้น หากพิจารณาสาเหตุการกระทำาผิดของนักโทษประหารตามแนวคิดของสำานัก
ปฏิฐานนิยม (Positive School) ดังกล่าวข้างต้น จึงนำาไปสู่แนวทางในการปฏิบัติต่อนักโทษ
ประหาร คือ การให้นักโทษประหารได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟู โดยการให้การบำาบัดรักษา
ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่มีความเหมาะสม เพื่อให้นักโทษประหารมีโอกาสได้แก้ไขฟื้นฟู
พัฒนาตนเองให้กลับเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป ซึ่งการยอมรับในแนวคิด
ดังกล่าวข้างต้นดังจะเห็นได้จากประเทศต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ทั่วโลกที่ได้มีการยกเลิกการใช้
โทษประหารชีวิต เพื่อให้ผู้ที่กระทำาผิดแม้จะกระทำาผิดในคดีที่มีความรุนแรงได้มีโอกาส
ในการแก้ไขฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับคืนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป แทนการ
ลงโทษด้วยการเอาชีวิตผู้กระทำาผิด เพราะอาจจะมีประโยชน์เพียงแค่ความสะใจ หรือความสาสม
ต่อความผิดที่ผู้กระทำาผิดได้ทำาไว้ หากแต่อาจไม่สามารถทำาให้ผู้กระทำาผิดได้สำานึกผิด หรือได้ปฏิบัติ
ตนเป็นคนดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้น แนวทางที่สำาคัญเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์
ของการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เน้นในการแก้ไขฟื้นฟูและการเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ คือ การยกเลิกโทษประหารชีวิตและการให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟู
เป็นสำาคัญ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 153