Page 96 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 96
95
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ขั้นตอนที่สำาคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การกำาหนดตัวชี้วัดให้สะท้อนพันธกรณีของรัฐ อันเป็น
ขั้นตอนการออกแบบหรือกำาหนดเกณฑ์ชี้ หรือวัดพันธะหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชี้พันธกรณี
ในการเคารพ (obligation to respect) พันธกรณีในปกป้องคุ้มครอง (obligation to protect)
และพันธกรณีในการทำาให้เป็นจริง (obligation to fulfil) ซึ่งมีขั้นตอนในการดำาเนินการดังตาราง
ข้างล่างนี้ (ดูแผนภูมิที่ ๔ ประกอบ)
แผนภูมิที่ ๔ การก�าหนดเนื้อหาสาระของตัวชี้วัดให้สะท้อนพันธะหน้าที่สามด้านของรัฐ
ขั้นตอนที่ ๑ ตัวชี้วัดโครงสร้าง
o บ่งบอกช่องว่างของกฎหมายภายในเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศและพันธกรณีของรัฐต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนอย่างไร
o บ่งบอกช่องว่างระหว่างนโยบายสาธารณะว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
ระหว่างประเทศหรือไม่
o บ่งบอกแนวธรรมเนียมปฏิบัติและสถาบันภายในของรัฐที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการนำาพันธกรณี
ระหว่างประเทศมาปรับใช้
ขั้นตอนที่ ๒ ตัวชี้วัดกระบวนการ
o ตัวชี้วัดกระบวนการควรจะต้องแสดง กำาหนดกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
สาระสำาคัญของเนื้อหาที่เกิดจากการผลักดัน ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม
ภายในประเทศ สตรี เพื่อให้มีความจำาเพาะเจาะจง
o ตัวชี้วัดกระบวนการอาจต้องใช้ตัวชี้วัด ปรับแต่งตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นให้สอดคล้อง
กระบวนการที่หลากหลายได้ตามความ กับแผนงานในประเทศ เพื่อเกื้อหนุน
เหมาะสม การดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
o มุ่งที่ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการ มุ่งเน้นด้านกระบวนการจัดสรร
เพื่อใช้กำาหนดตัวชี้วัดกระบวนการ งบประมาณทั้งในระดับประเทศ
และระดับท้องถิ่น เพื่อการดำาเนินงาน
o คิดหาตัวชี้วัดกระบวนการเพิ่มเติมเพื่อให้ ด้านสิทธิมนุษยชน
มีการปรับเข้ากับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ ๓ ตัวชี้วัดผลลัพธ์
o ตัวชี้วัดพิจารณาขึ้นมาอย่างมีมาตรฐาน สอดคล้องกัน มีความเป็นสากล แต่อาจจะต้อง
ปรับให้สอดคล้องกับกลุ่มประชากรเฉพาะ
ที่มา : Office of the High Commissioner for Human Rights, Human Rights Indicators: A Guide to Measurement and
Implementation, UN Publication No. HR/Pub/12/5, (New York and Geneva, 2012), p.87.
กระบวนการดังกล่าวจะนำามาสู่ร่างตัวชี้วัดซึ่งจะนำาไปทดลองใช้ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับรอง
ก่อนที่จะนำาไปใช้
คณะผู้ศึกษาขอนำาตัวชี้วัดที่พัฒนาโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
มาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นดังตารางต่อไปนี้