Page 62 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 62
61
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- แนวคิดเรื่องความเพียงพอ สัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องอาหารที่เพียงพอ
หรือความมั่นคงด้านอาหาร หมายความว่า ต้องมีอาหารแก่คนในรุ่นนี้
และในอนาคต ๑๕๓
- สาระหลักของสิทธิด้านอาหาร หมายรวมถึง การมีอาหารเพียงพอกับ
ความต้องการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่จะสนองความต้องการ
ทางโภชนาการของปัจเจกชน ปราศจากสารที่เป็นอันตราย และเป็นที่
ยอมรับของวัฒนธรรมนั้นๆ การเข้าถึงอาหารในลักษณะที่ยั่งยืนและ
ไม่แทรกแซงสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่พึงมีพึงได้ ๑๕๔
- ความต้องการทางโภชนาการ ต้องดำาเนินมาตรการในการบำารุง ปรับเปลี่ยน
หรือเพิ่มความหลากหลายด้านอาหารและการบริโภคอย่างเหมาะสม
และรูปแบบในการเลี้ยงดู ซึ่งรวมทั้ง การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา ๑๕๕
- การปลอดจากสารที่เป็นอันตราย ข้อกำาหนดเกี่ยวกับความปลอดภัย
ในการบริโภคและมาตรการป้องกันต่างๆ ทั้งโดยภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนในอาหารทั้งที่เกิดจากการปลอมปน และ/หรือ
จากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม หรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม ๑๕๖
- การยอมรับของผู้บริโภคหรือวัฒนธรรม ๑๕๗
- การมีอย่างเพียงพอ หมายถึง ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงดูตนเองโดยตรง
จากที่ดินทำาการเกษตร หรือจากระบบการแจกจ่าย การแปรรูป และ
การตลาดที่มีระบบที่ดี ๑๕๘
- ความสามารถในการเข้าถึง หมายถึง ความสามารถในการเข้าถึงทั้งทาง
เศรษฐกิจและทางกายภาพ ความสามารถในการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ
หมายความว่า ค่าใช้จ่ายของบุคคลและครัวเรือนที่สัมพันธ์กับการจัดหา
อาหารเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอ ความสามารถในการเข้าถึงทาง
กายภาพ หมายความว่า ทุกคนจะต้องเข้าถึงอาหารได้ รวมทั้งผู้ที่
สภาพร่างกายอ่อนแอ เช่น ทารกและเด็ก คนชรา คนพิการผู้ป่วยใน
ระยะสุดท้าย และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ผู้ป่วยทางจิต ๑๕๙
๑๕๓ ibid. para. 7
๑๕๔ ibid. para. 8
๑๕๕ ibid. para. 9
๑๕๖ ibid. para. 10
๑๕๗ ibid. para. 11
๑๕๘ ibid. para. 12
๑๕๙ ibid. para. 12