Page 63 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 63
62
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- พันธะในการเคารพต่อการเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอบังคับมิให้รัฐภาคี
ดำาเนินมาตรการใดๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงดังกล่าว
พันธะในการปกป้องกำาหนดให้รัฐดำาเนินมาตรการที่เป็นหลักประกันว่า
กิจการหรือปัจเจกชนไม่กระทำาการใดๆ ที่ทำาให้ผู้อื่นไม่อาจเข้าถึงอาหาร
อย่างเพียงพอได้ พันธะในการตอบสนอง (อำานวยความสะดวก)
หมายความว่า รัฐจะต้องมีส่วนดำาเนินการในเชิงรุกเพื่อเพิ่มความสามารถ
ของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร และวิถีทาง
สู่ความเป็นอยู่ที่ดี รวมทั้งความมั่นคงทางอาหาร ๑๖๐
- รัฐภาคีจะต้องไม่มีมาตรการใดอันขัดขวางการเข้าถึงสิทธิเรื่องมีอาหาร
อย่างเพียงพอ ๑๖๑
- รัฐภาคีต้องคุ้มครองบุคคลจากการกระทำาของบุคคลหรือองค์กรในลักษณะ
ทำาให้เสื่อมเสียในสิทธินี้ ๑๖๒
- พันธกรณีในด้านเติมเต็มสิทธินี้กำาหนดให้รัฐต้องดำาเนินการแบบเชิงรุก
เพื่อสร้างพลังของบุคคลในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในทรัพยากร และ
อันจะประกันความมั่นคงในอาหาร และความเป็นอยู่ที่เป็นปกติสุข ๑๖๓
- การละเมิดสิทธิในด้านอาหารอาจเกิดขึ้นได้โดยการกระทำาของรัฐโดยตรง
หรือโดยองค์กรอื่นๆ ที่รัฐไม่ได้ควบคุมกำากับเท่าที่ควร ๑๖๔
- รัฐภาคีจะต้องดำาเนินการทุกอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุกคนในประเทศ
ไม่ประสบกับความอดอยากหิวโหย และพึงได้รับสิทธิในด้านอาหารอย่าง
เพียงพอโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ๑๖๕
- การกำาหนดและดำาเนินยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับสิทธิด้านอาหารจะต้อง
มีความสอดคล้องอย่างเต็มที่กับหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำานาจ ๑๖๖
- ยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรชี้ประเด็นและมาตรการสำาคัญต่างๆ เกี่ยวกับ
ระบบอาหารในทุกแง่มุม รวมทั้ง การผลิต การแปรรูป การจำาหน่าย
การตลาด และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนมาตรการร่วม
ในด้านอนามัย การศึกษา การจ้างงาน และความมั่นคงทางสังคม ๑๖๗
๑๖๐ ibid. para. 15
๑๖๑ ibid. para. 15
๑๖๒ ibid. para. 15
๑๖๓ ibid. para. 15
๑๖๔ ibid. para. 19
๑๖๕ ibid. para. 21
๑๖๖ ibid. para. 23
๑๖๗ ibid. para. 25