Page 57 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 57
56
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- มาตรการป้องกันดังกล่าวต้องมีการสืบสวนทันทีทันใด และจะต้อง
ดำาเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำาผิด
- เหยื่อของการละเมิดจะต้องได้รับการชดเชยตามความเหมาะสม ๑๑๖
- การจำากัดเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องกระทำาโดยกฎหมายและ
สอดคล้องกับหลักความชอบธรรมในการจำากัดสิทธิ์ ๑๑๗
การแสดงออกในเรื่องเกี่ยวกับกิจการสาธารณะที่เกี่ยวพันกับบุคคลสาธารณะ
เช่น นักการเมือง หัวหน้ารัฐบาล หรือประมุขของรัฐ การใส่ความ หรือทำาให้บุคคลสาธารณะ หรือ
สถาบันไม่ควรเป็นสาเหตุให้ถูกลงโทษทางอาญา เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นควรจะอยู่ภายใต้การได้รับ
การวิพากษ์วิจารณ์ได้ รัฐไม่ควรห้ามการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางการเมือง เช่น กองทัพ หรือ
ฝ่ายบริหาร เป็นต้น
๓.๑.๔.๒ ข้อคิดเห็นร่วมอันสำ�คัญของคณะกรรมก�รประจำ�กติก�ระหว่�งประเทศ
ว่�ด้วยสิทธิท�งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
• ข้อคิดเห็นร่วมอันสำ�คัญ ลำ�ดับที่ ๔ สิทธิในก�รมีที่อยู่อย่�งพอเพียง
(ข้อ ๑๑.๑) ๑๑๘
- สิทธิในที่อยู่อาศัย ที่เพียงพอไม่ควรจะถูกตีความอย่างแคบๆ หรืออย่าง
จำากัด การตีความเช่นนี้ ทำาให้ที่อยู่อาศัยเป็นเพียงที่พักพิงซึ่งมีเพียง
หลังคาคุ้มตัว หรือมองที่อยู่อาศัยเป็นเพียงสินค้าเท่านั้น แต่สิทธิในที่อยู่
อาศัยที่เพียงพอ ย่อมหมายถึง สิทธิในการอาศัยอยู่ในที่มีความปลอดภัย
มีความสงบสุข และมีศักดิ์ศรี ๑๑๙
- การมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ หมายถึง การมีความเป็นส่วนตัวเพียง
พอ มีพื้นที่เพียงพอ มีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ มีแสงสว่างและ
การถ่ายเทอากาศ มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอ และอยู่ในทำาเลที่
ไม่ห่างไกลจากสถานที่ทำางาน และสิ่งอำานวยความสะดวกพื้นฐานอื่นๆ
ในราคาที่เหมาะสม ๑๒๐
- แนวคิดเรื่องความเพียงพอมีองค์ประกอบ ดังนี้
ก) หลักประกันทางกฎหมายในการมีสิทธิเป็นเจ้าของ มีหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็น การเช่าที่อยู่อาศัย เคหะชุมชน สหกรณ์ การเช่าซื้อ
๑๑๖ ibid. para. 23
๑๑๗ ibid. para. 27-34
๑๑๘ Committee on Economic, Social and Cultural Rights, General comment No 4: The right to adequate housing (Art.11
(1)): 13/12/1991.
๑๑๙ ibid. para. 7
๑๒๐ ibid. para. 7