Page 56 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 56
55
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
• ข้อคิดเห็นร่วมอันสำ�คัญ ลำ�ดับที่ ๓๔ ข้อ ๑๙ เสรีภ�พในก�รแสดง
คว�มคิดเห็นและก�รแสดงออก (ใช้แทนที่ข้อคิดเห็นร่วมอันสำ�คัญ
ลำ�ดับที่ ๑๐) ๑๐๙
- เสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออกมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด
เป็นพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพด้านอื่นๆ เช่น เสรีภาพในการเข้าร่วมชุมนุม
สมาคม และเสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
- สิทธิในความคิดเห็นเป็นสิทธิสัมบูรณ์ไม่อาจพักใช้ได้ ๑๑๐ และรัฐต้อง
คุ้มครองให้เกิดผลโดยมีกฎหมายภายใน ๑๑๑
- สิทธิในความคิดเห็นทุกรูปแบบจะได้รับการคุ้มครอง ๑๑๒
- รัฐต้องคุ้มครองสิทธิในการแสดงออก รวมถึง สิทธิที่จะแสวงหาและได้รับ
ข้อมูลความเห็นในทุกรูปแบบโดยไม่จำากัดเขตแดน สิทธินี้ย่อมรวมถึง
การแสดงออกและการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทุกรูปแบบ ๑๑๓
- รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของสื่อสารมวลชนและ
ให้สื่อสารมวลชนมีความอิสระ ๑๑๔
- ควรดำาเนินการพิจารณาเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต และ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ และควรมีมาตรการจำาเป็นเพื่อทำาให้การสื่อสาร
รูปแบบใหม่ มีความอิสระ และเข้าถึงได้โดยปัจเจกชนทั่วไป ๑๑๕
- ควรทำาให้การกระจายเสียงสาธารณะมีความเป็นอิสระ และความเป็น
อิสระของบรรณาธิการ
- ในการที่รัฐจำากัดเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลด้วยเหตุผลที่
ชอบธรรมได้ เช่น เพื่อป้องกันเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคล ป้องกันความ
มั่นคงปลอดภัยสาธารณะ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
การจำากัดนั้นจะต้องไม่ทำาให้เสื่อมเสียเสรีภาพในการแสดงออกเสียเอง
- รัฐต้องมีมาตรการที่เป็นผลในการป้องกันการโจมตี หรือทำาการปิดปาก
ไม่ให้บุคคลแสดงความเห็น หรือใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยเฉพาะ
โดยสื่อมวลชน หรือบุคคลที่สืบเสาะข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์
สิทธิมนุษยชน หรือบุคคลที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชนรวมถึง ผู้พิพากษาและทนายความ
๑๐๙ Human Rights Committee General Comment No 34 on Article 19: Freedom of opinion and expression: CCPR/C/GC/34
๑๑๐ ibid. para. 5
๑๑๑ ibid. para. 8
๑๑๒ ibid. para. 9
๑๑๓ ibid. para. 11
๑๑๔ ibid. para. 14
๑๑๕ ibid. para. 16