Page 40 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 40
39
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓.๑.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights : UDHR)
เป็นตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกที่ได้ประกาศหลักการสำาคัญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ
ของมนุษย์ในการเคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ให้สมกับคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ของทุกคน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดทำาขึ้นโดยคณะกรรมการร่างซึ่งเป็นตัวแทนของ
ภูมิภาคต่างๆ ที่มีระบบกฎหมาย ศาสนา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมี นางเอลลีเนอร์ รูสเวลท์
เป็นประธานคณะกรรมการร่างปฏิญญาสากล สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาโดยมติเอกฉันท์
ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (พ.ศ. ๒๔๙๑)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสามารถแบ่งได้เป็นสี่ส่วน คือ
• ส่วนแรก (ข้อ ๑ และข้อ ๒) บัญญัติถึงหลักการทั่วไป และแนวคิดทางสิทธิมนุษยชน
เช่น สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากจากมนุษย์ได้ หลักความเท่าเทียม และหลัก
ภราดรภาพ
• ส่วนที่สอง (ข้อ ๓ ถึงข้อ ๒๑) เป็นการรับรองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(Civil and Political Rights)
• ส่วนที่สาม (ข้อ ๒๒ ถึงข้อ ๒๘) รับรองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(Economic, Social and Cultural Rights)
• ส่วนที่สี่ (ข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐) บัญญัติหน้าที่ของบุคคลต่อสังคม การจำากัดสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล และการตีความสิทธิตามปฏิญญานั้นจะต้องไม่เป็นการบั่นทอนสิทธินั้นๆ
คุณค่าทางกฎหมายที่สำาคัญที่สุดของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือ การเป็น
ตราสารอ้างอิงหลักการ และเนื้อหาสิทธิมนุษยชน ที่รัฐต่างๆ ได้ปวารณาตนเองตามกฎบัตร
สหประชาชาติที่จะส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยที่กฎบัตรฯ มิได้นิยามหรือแจกแจงว่า
สิทธิมนุษยชนคืออะไร ดังนั้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเอกสารเสริมกฎบัตรฯ
ช่วยทำาให้คำาว่า สิทธิมนุษยชนมีความหมายชัดเจนขึ้น แม้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ไม่มีผลผูกพันในฐานะเป็นสนธิสัญญา แต่ถือได้ว่าหลักการต่างๆ ที่รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ได้มีการยอมรับจนถือได้ว่าเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ดังได้อธิบาย
แล้วในบทที่ ๒ ข้างต้น
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับการทำาให้ชัดเจนขึ้นโดยกติการะหว่างประเทศ
สองฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง กติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม เป็นส่วนที่แตกออกมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น
ซึ่งตราสารทั้งสามฉบับนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “กฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ดังนั้น
การพิจารณาพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงต้องพิจารณาประกอบกับกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยเสมอ