Page 41 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 41

40


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                  ๓.๑.๒  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                           กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
                  on Civil and Political Rights : ICCPR) เป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมีฐานะ

                  เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพัน หรือก่อพันธกรณีระหว่างประเทศต่อรัฐ กติการะหว่างประเทศ
                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองแบ่งเป็นหกส่วน ดังนี้

                           ส่วนที่หนึ่ง  วรรคอารัมภบท กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตร

                  สหประชาชาติ  รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และได้รับสิทธิทั้ง
                  ด้านพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างเท่าเทียมกัน

                           ส่วนที่สอง  กำาหนดสิทธิในการกำาหนดเจตจำานงตนเอง (right of self-determination)

                           ส่วนที่ส�ม  พันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพและประกันสิทธิของบุคคล รวมถึง

                  การห้ามการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทาง
                  การเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำาเนิด หรือสภาพอื่นใด  โดยจะดำาเนินการให้
                  เกิดผลในทางปฏิบัติภายในประเทศ  ประกันว่าบุคคลที่ถูกละเมิดจะได้รับการเยียวยา ไม่ว่าบุรุษหรือ

                  สตรีจะได้รับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน  การลิดรอนสิทธิในสถานการณ์

                  ฉุกเฉิน และการห้ามการตีความกติกาในอันที่จะไปจำากัดสิทธิและเสรีภาพอื่นๆ
                           ส่วนที่สี่  เป็นส่วนที่เป็นข้อบทที่รับรองสิทธิ หรือเป็นสาระของสิทธิทั้งสิทธิทางด้าน

                  พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ดูรายละเอียดในตารางที่ ๒)

                           ส่วนที่ห้�  ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) ซึ่งมีหน้าที่
                  รับผิดชอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีที่กำาหนดไว้ในกติกาฯ รวมถึงพันธกรณีในการ

                  เสนอรายงานของรัฐภาคี  การยอมรับอำานาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และขั้นตอนการ
                  พิจารณาข้อร้องเรียน

                           ส่วนที่หก  บทบัญญัติ ห้ามการตีความไปในทางขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ
                  รวมทั้งการมิให้ตีความในการที่จะลิดรอนสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ  ๕๒


                         ประเทศไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในเดือน
                  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และมีผลบังคับต่อประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐















                  ๕๒   อัจฉรา ฉายากุล และคณะ พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (กรุงเทพ: โรงพิมพ์ศาสนาส�านักงาน, ๒๕๔๖),

                     หน้า ๒๐-๒๑.
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46