Page 39 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 39
38
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
โดยที่สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดทำาขึ้นมุ่งที่จะรวบรวมหลักการ
ที่สร้างปทัสถานทางกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำาในปฏิญญาสากลก็ยังมีความคลุมเครืออยู่มาก
ความไม่ชัดเจนของถ้อยคำาของเอกสารที่ต้องการสร้างปทัสถานทางกฎหมาย เป็นข้อจำากัดที่ถือว่า
เป็นปกติ เนื่องจากหลักการทางกฎหมายต้องการให้ใช้ได้ทั่วไป จึงจำาเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำากว้างๆ
เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะต่างๆ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นทั้งตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ และ
ตราสารทางกฎหมายภายใน เช่น รัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ในคู่มือตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ได้แนะนำาว่า ในขั้นตอนแรก ควรจะต้องมีการกำาหนดสาระแห่งสิทธิ (หรือมิติของสิทธิมนุษยชน)
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนจึงจำาเป็นที่จะต้องกำาหนด “แหล่งที่มา” เพื่ออ้างอิงสาระแห่งสิทธิ
(Right Attributes) เพื่อให้ครอบคลุม และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้
ดังได้กล่าวในบทที่สอง แม้ว่าโดยชื่อ “Declaration” หรือ “ปฏิญญา” ไม่มีผลผูกพันทาง
กฎหมายระหว่างประเทศ แต่สาระสำาคัญของสิทธิที่รับรองโดยปฏิญญาสากลมีฐานะเป็นจารีต
ประเพณีระหว่างประเทศ ดังนั้น ในบทนี้จะวิเคราะห์พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ว่ามีเนื้อหาสาระอย่างไร
คณะผู้ศึกษาได้แบ่งแหล่งที่มาของพันธกรณีที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สองลำาดับ คือ แหล่งที่มาหลัก และแหล่งที่มารอง และเนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่าง
ประเทศที่มีผลทำาให้ความเห็นด้านสิทธิมนุษยชนแตกต่างกัน นับตั้งแต่การจัดทำาร่างปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ต่อมา เมื่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนแล้ว จึงได้มีการจัดทำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนสำาคัญสองฉบับเพื่อลดความกดดัน
ทางการเมือง คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural
Rights : ICESCR) ตราสารทั้งสองฉบับได้รับการยอมรับว่าเป็นตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศในการกำาหนดพันธกรณีหลัก คณะผู้ศึกษาจึงใช้ข้อบทของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ประกอบกับข้อบทตามกติการะหว่างประเทศสองฉบับนี้ เป็นพื้นฐานทางกฎหมายในการกำาหนด
พันธกรณีของประเทศไทยในการพิจารณาพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน
ส่วนที่มาลำาดับรอง คณะผู้ศึกษาจะพิจารณาจากมาตรฐานระหว่างประเทศที่พัฒนาขึ้น
โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และ
คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญา (Treaty Bodies) เช่น ข้อมติ (Resolutions) ข้อคิดเห็นร่วมอันสำาคัญ
(General Comments) และคำาวินิจฉัย (Decisions) เป็นต้น