Page 21 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 21
20
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ตัวแทนจากประเทศต่างๆ
ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ และระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยประกอบด้วยผู้แทนจากออสเตรเลีย ชิลี
จีน ฝรั่งเศส เลบานอน รัสเซีย และนางอีเลเนอร์ รูสเวลท์
โดยที่นางรูสเวลท์ เป็นประธานร่างปฏิญญาฉบับนี้ ดังนั้น จึงมีส่วนสำาคัญที่ได้นำาความคิด
อิสรภาพสี่ประการของอดีตประธานาธิบดีรูสเวลท์ มาเป็นพื้นฐานของการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน สำาหรับผู้แทนจากฝรั่งเศส คือ ศาสตราจารย์เรเน กาแซง (Rene’ Cassin) นั้นถือว่า
เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสูงในการจัดทำาร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็นคนรอบรู้
ทั้งปรัชญาสิทธิมนุษยชนและทฤษฎีทางกฎหมาย และเป็นผู้ผลักดันสิทธิทางด้านสวัสดิการสังคม
ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการฯ ได้ร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเสร็จ และสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
ได้มีมติรับรอง โดยมติเอกฉันท์ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) โดยมีแปดประเทศ
ที่งดเว้นออกเสียง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ รัสเซีย และยุโรปคอมมิวนิสต์ ๑๘
พิจารณาในเรื่องขอบเขตของสิทธิมนุษยชน โดยที่สิทธิมนุษยชนมีพลวัตรสูงและความหมาย
ขึ้นอยู่กับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงเป็นการยากที่จะกำาหนดความหมายของคำาว่า
“สิทธิมนุษยชน” ไว้ในตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นเดียวกันในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔ เลี่ยงที่จะใช้คำาว่า “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้กฎหมายรับรองคุ้มครองโดยใช้
คำาว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพ แทน ในขณะที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็นิยามศัพท์ในเชิงการกำาหนดขอบเขต เพื่อประโยชน์ในการ
ดำาเนินงานของ กสม. ดังปรากฏในมาตรา ๓
“สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ
เสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
การที่ มาตรา ๓ กำาหนดขอบเขตว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์....... ที่ประเทศไทยมีพันธกรณี
ที่จะต้องปฏิบัติตาม” แสดงโดยนัยว่า สิทธิมนุษยชน มีขอบเขตมากกว่าที่ประเทศไทยเป็นภาคี
โดยที่โครงการนี้มุ่งพัฒนาตัวชี้วัดตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์สถานะ และลักษณะของสิทธิเชิงทฤษฎีที่ลึกซึ้ง
ดังนั้น จึงไม่มีความจำาเป็นในการวิเคราะห์การเรียกร้องอื่นๆ ว่ามีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่
แต่จะใช้สิทธิมนุษยชนที่รับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัด
อย่างไรก็ตาม คณะผู้ศึกษาเห็นพ้องกันว่า สิทธิมนุษยชนหาได้มีจำากัดอยู่เพียงเท่าที่รับรองไว้
ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้ประกาศไว้กว่าหกสิบปีมาแล้วไม่
๑๘ ibid.