Page 116 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 116
115
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ต�ร�งที่ ๙ กรอบการพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
แห่งชาติ ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ตร�ส�ร
ระหว่�งประเทศ เนื้อห�ที่ใช้ในก�รพัฒน� เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
UDHR • การส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และคุณค่าของบุคคล
• สิทธิมนุษยชน และความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิต่างๆ
• หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความเสมอภาค ความพร้อมรับผิด และการมีส่วนร่วมของประชาชน
• ส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม และมาตรฐานชีวิตที่ดีกว่า
• ให้หลักประกันการยอมรับความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน และประสิทธิภาพในการยึดถือ
หลักการสิทธิมนุษยชนทั้งปวง ด้วยความพยายามระดับชาติ และความร่วมมือในระดับสากล
• เสริมสร้างระเบียบสังคมและสากลที่สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพจะได้รับการปฏิบัติอย่างเต็มที่
• ใช้สิทธิมนุษยชนด้วยความรับผิดชอบ
• ข้อจำากัดใดๆ ของสิทธิใดๆ ที่ได้รับการคุ้มครองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
จะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ดำารงอยู่จริง
ปฏิญญ� • ความอยู่ดีกินดีของประชากรที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความกระตือรือร้น
สิทธิในก�รพัฒน� ความเป็นอิสระ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างมีความหมาย และผลประโยชน์ต่างๆ
ที่ได้รับนั้น มีการกระจายอย่างเป็นธรรม
• ขจัดปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา
• รับรอง และยอมรับยุทธศาสตร์ที่มีการบูรณาการกับสิทธิมิอาจแบ่งแยกได้ มีความกระชับ
ประชาชนมีส่วนร่วม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะนำาไปสู่การที่มนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก
และเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
• ขจัดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และแพร่กระจายอย่าง
กว้างขวาง
• ส่งเสริมการเคารพในสิทธิมนุษยชน
• ประกันความเสมอภาคในโอกาสของทุกคนในการเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐาน การศึกษา
การบริการสุขภาพ อาหาร ที่อยู่อาศัย การจ้างงาน และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
• ประกันว่าผู้หญิงมีบทบาทที่กระตือรือร้นในกระบวนการพัฒนา
• ขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมทุกประเภท
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาทุกรูปแบบ
ICCPR • หลีกเลี่ยงการรับรองยุทธศาสตร์ แนวทาง แผนงาน หรือโครงการปฏิบัติการใดๆ
ที่นำาไปสู่/หรือส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
• ดำาเนินมาตรการ และกลไกเพื่อให้ระบบกฎหมายมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และ
มีความเป็นอิสระ ในการแก้ไขเยียวยา และฟื้นฟูปัญหาจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
ICESCR • ดำาเนินการให้เกิดความก้าวหน้าต่อการสร้างสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เพื่อทุกคนให้เกิดขึ้นจริง
• รับรองนโยบาย และมาตรการให้บรรลุซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรม
ที่มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ และเกิดมรรคผล ภายใต้เงื่อนไขที่มีการคุ้มครองเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ