Page 112 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 112

111


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              ๔.๒.๒.๕  ก�รพัฒน�ตัวชี้วัดคว�มเท่�เทียมท�งเพศโดยคณะกรรม�ธิก�ร
                                       คว�มเท่�เทียมท�งเพศ

                                       คณะกรรมาธิการความเท่าเทียมทางเพศ (Commission on Gender Equality)
                     เป็นองค์กรอิสระจัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (Constitution

                     Act 1996) มีอำานาจหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาความเสมอภาคทางเพศให้เกิดขึ้นในประเทศ
                     อำานาจหน้าที่สำาคัญประการหนึ่ง คือ การติดตามตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐตามพันธกรณี
                     ระหว่างประเทศตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) และสนธิสัญญา

                     สิทธิมนุษยชนอื่นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นภาคี ในการดำาเนินงาน
                     ประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐบาล คณะกรรมาธิการความเท่าเทียมทางเพศ ได้ใช้ดรรชนี
                     เพศสภาพและการพัฒนา  (African Gender and Development Index : AGDI)  ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดย

                     โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United  Nations  Development  Programme : UNDP)  และได้
                     นำามาใช้ในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ

                                       คณะกรรมาธิการความเท่าเทียมทางเพศได้ใช้กรอบ MDGs ในการประเมิน
                     ติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดยการปรับ MDGs ให้ใช้

                     ในบริบทเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเพศ โดยกำาหนดกรอบความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนา
                     สถานภาพของสตรี ห้าด้าน (Cluster) คือ

                            •  ด้านเศรษฐกิจ (Economic Cluster)

                            •  ด้านสังคม (Social Cluster)
                            •  ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Cluster)

                            •  ด้านอ�านาจ (หรือพลัง) ทางการเมือง (Political Power Cluster)

                            •  ด้านความมั่นคงปลอดภัยและสิทธิมนุษยชน (Security and Human Rights Cluster)

                                       ในแต่ละด้านจะพิจารณาสัมพันธ์กับ MDGs ทั้งแปดเป้าหมาย  (ดังกล่าวข้างต้น)
                     แล้วจึงกำาหนดเป็นตัวชี้วัด เพื่อการประเมินว่า มีการบรรลุเป้าหมายที่กำาหนดไว้หรือไม่  ๒๒๘   ในที่นี้

                     จะขอยกตัวอย่างการกำาหนดตัวชี้วัดของด้านที่ห้า หรือด้านความมั่นคงปลอดภัยและสิทธิมนุษยชน
                     (Security and Human Rights Cluster) ที่คณะกรรมาธิการความเท่าเทียมทางเพศ ได้กำาหนดไว้
                     ดังต่อไปนี้

















                     ๒๒๘   South African Commission on Gender Equality, A Gender Review of South Africa’s Implementation of
                         Millennium Development Goals, (Pretoria: Commission on Gender Equality, 2010)
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117