Page 114 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 114
113
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๔.๒.๓ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
๔.๒.๓.๑ คว�มเป็นม�ของก�รพัฒน�ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของส�ธ�รณรัฐ
ฟิลิปปินส์
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พัฒนาโดยสภาพัฒนาแห่งชาติ
ฟิลิปปินส์ ที่ได้จัดทำาเกณฑ์ชี้วัดโดยได้อิงจากพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้
ในการกำาหนดกรอบการพัฒนาของตน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฟิลิปปินส์ (กสมฟ.) เป็นที่น่าสังเกตว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้ให้สัตยาบันกติกาและอนุสัญญา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับประเทศไทยเกือบทุกฉบับ ทั้งนี้ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาการคุ้มครองสิทธิของแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งประเทศไทย
ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศไทยและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ต่างก็เป็น
ประเทศที่ส่งออกแรงงานไปทำางานในต่างประเทศเช่นเดียวกัน
กสมฟ. ได้จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ค.ศ. ๑๙๘๖ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ในหมวดที่ ๑๗ และกำาหนดบทบาทอำานาจหน้าที่ไว้ในหมวดที่ ๑๘ โดยที่
รัฐธรรมนูญได้ให้อำานาจ กสมฟ. ในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลและมีการตรวจตรา
และจัดทำารายงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นอิสระ
โดยที่รัฐบาลจำาเป็นที่จะต้องดำาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
ให้สอดคล้องกับพันธกรณี การใช้กรอบสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
ที่จะนำามาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ กสมฟ. จึงได้มีโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเป็นตัวชี้วัด
ให้กับกติกา หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ เพื่อที่รัฐบาลจะได้นำาไปใช้งานได้ ขณะเดียวกัน
กสมฟ. ก็จะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบรัฐบาลให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าวอีกด้วย
กสมฟ. ได้ริเริ่มโครงการวิจัยนำาร่องเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด โดยใช้แนวคิด “แนวทาง
สิทธิมนุษยชนในการพัฒนา” (Human Rights - Based Approach) โดยเริ่มต้นจากสิทธิมนุษยชน
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights : ESCR) บางส่วน
ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจในเรื่อง “สิทธิในการพัฒนา” ของ กสมฟ. ซึ่งในที่สุด กสมฟ. ก็ได้เลือกเอา “สิทธิในอาหาร
และสุขภาพ” เป็นจุดเริ่มต้น เนื่องจากเป็นสาระสำาคัญของปัจจัยสี่ อันเป็นความจำาเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์
และเห็นว่าปราศจากสิทธิในการเข้าถึงอาหารและสุขภาพ การพัฒนามนุษย์ในมิติอื่นๆ ย่อมได้รับผลกระทบ
สืบเนื่องอย่างรุนแรง และสิทธิในด้านอื่นๆ ก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การเคารพการปกป้องคุ้มครอง
และการดำาเนินการให้สิทธิมนุษยชนนี้เกิดขึ้นจริง จึงเป็นภารกิจเบื้องต้นที่สำาคัญของระเบียบการบริหารรัฐกิจ
และรัฐบาลจะต้องร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าว
กสมฟ. จะได้ประสานงานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ และประชาสังคม
ในการทบทวนและวิเคราะห์ตัวชี้วัดของภาคส่วน หน่วยงานต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมเสวนา การเก็บรวบรวม
ข้อมูลเชิงมาตรฐานและตัวชี้วัดจากหน่วยงานผู้ปฏิบัติ เช่น กระทรวงเกษตรฯ สำานักงานอาหารแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมข้อมูล และวิเคราะห์ และนำามาสู่การประชุมร่วม
ระหว่างภาครัฐ และประชาสังคมเพื่อประเมินสถานการณ์ โดยใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือ