Page 121 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 121
120
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(Human Rights-Based Approach for development) แนวทางดังกล่าวใช้ในมิติที่เกี่ยวกับ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้ตัวชี้วัดเพื่อนำาไปสู่เป้าหมายความสำาเร็จ
ในการพัฒนา (goal of achievement) ดังนั้น สาระแห่งสิทธิและตัวชี้วัดจึงแตกต่างจากตัวชี้วัดที่มี
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ซึ่งตั้งอยู่บนปทัสถานทางกฎหมาย และพันธกรณีระหว่างประเทศ
๔.๓ สรุปความเห็นจากการศึกษา
แนวทางที่พัฒนาโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีกระบวนการ
ขั้นตอนที่เหมาะสมในการใช้เป็นแบบอย่างเนื่องจากมีการกำาหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำาตัวชี้วัดที่
ชัดเจน มีการกำาหนดสาระแห่งสิทธิที่อยู่บนพื้นฐานของพันธกรณีของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่รัฐต้องรายงาน และมีการกำาหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนพันธะหน้าที่หลักทั้งสามด้านของรัฐ คือ เคารพ
ปกป้อง และคุ้มครอง
ประการสำาคัญ คือ กรอบวิธีคิด กระบวนการการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่พัฒนา
โดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ตอบสนองหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เช่น
• ความเชื่อมโยงของข้อมูลกับตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
• ความเป็นสากลและความไม่สามารถลิดรอนได้ของสิทธิมนุษยชน
• ความไม่สามารถแบ่งแยกได้ การพึ่งพิงซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์กันระหว่าง
สิทธิด้านต่างๆ
• การเน้นการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างกระบวนการพัฒนา
• การไม่เลือกปฏิบัติและมุ่งไปสู่การสร้างเสริมความเท่าเทียม
• ความรับผิดชอบของรัฐบาลและความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ และหลักนิติธรรม
• การเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนทางกฎหมายและทางด้านการบริหาร ๒๓๑
ดังนั้น ในการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามโครงการ “การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
เบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” นี้ คณะผู้ศึกษาเลือกใช้กรอบการพัฒนาตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชนตามแนวทางที่สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ได้ดำาเนินการอยู่
ทั้งนี้ เนื่องจากแนวทางดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นโดยความเห็นชอบของกลไกที่ทำาหน้าที่ตีความข้อบท
ของสิทธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดโดยตรง ซึ่งประเทศไทยจำาเป็น
ต้องเสนอรายงานสิทธิมนุษยชนที่มีข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
๒๓๑ “Report on the Second Interagency Workshop on Implementing a Human Rights-Based Approach in
the Context of UN Reform”, Stanford, USA, 5-7 May, 2003.