Page 119 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 119
118
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตร�ส�ร
ระหว่�งประเทศ เนื้อห�ที่ใช้ในก�รพัฒน� เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
• ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทั้งในชีวิต ทางเศรษฐกิจ และสังคม
• ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในพื้นที่ชนบท
• ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน และความสัมพันธ์
ทางครอบครัว
CAT • ป้องกันการทรมาน และการปฏิบัติที่เลวร้ายในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่าง
สถานการณ์ฉุกเฉิน
• ทั้งนี้รวมถึงการทรมานในระหว่างการฝึกอบรม การทำางานในหน้าที่ตามข้อบังคับของ
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง
• ดำาเนินการสอบสวนกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีเหตุการณ์ซ้อมทรมานโดยทันที และพึงดำาเนินการ
ด้วยความเที่ยงธรรม
• แสวงหาความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน
มิให้มีการทรมาน และการปฏิบัติที่เลวร้าย
• ดำาเนินการทบทวนระเบียบวิธีการสอบสวน การสั่งการ วิธีการ การปฏิบัติ และการบริหารจัดการ
ที่คุมขังอย่างเป็นระบบ และรวมถึงการปฏิบัติต่อบุคคลทุกคนที่ถูกจับกุมหรือคุมขังด้วย
• ให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน และประจักษ์พยานที่ให้การที่คัดค้านการกระทำาที่เป็น
การปฏิบัติอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม มิให้ถูกคุกคาม ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจาก
การร้องเรียน หรือการให้การต่อเจ้าหน้าที่
• รับรองและดำาเนินการให้มีกลไกการเยียวยาแก่เหยื่อผู้ถูกคุกคาม รวมถึง การชดเชย
ความเสียหาย และมีการฟื้นฟูเยียวยาอย่างเต็มรูปแบบ
CMW • ส่งเสริมการเดินทางข้ามพรมแดน ในสัดส่วนที่สมเหตุสมผล มีความเที่ยงธรรม
และอย่างมีมนุษยธรรม
• ให้การบริการการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการอพยพโยกย้ายข้ามแดนอย่างเพียงพอ
ต่อความต้องการ
• ให้มีหน่วยงานกงสุล หรือการบริการที่จำาเป็นอย่างเพียงพอ
• ออกระเบียบในการรับสมัครคนงานเพื่อการจ้างงานในประเทศอื่นๆ
• รับรองมาตรการที่จะให้แรงงานอพยพและครอบครัวได้สิทธิกลับคืนสู่ดินแดนของตน
ด้วยความเรียบร้อย
• ส่งเสริมเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เพียงพอในการจัดหาที่พักพิงแก่แรงงานอพยพและครอบครัว
ในสถานการณ์ปกติ และให้เกิดการบูรณาการทางสังคม วัฒนธรรมในรัฐถิ่นเกิดของตนเอง
• ป้องกัน หรือขจัดแรงงาน หรือการจ้างงานที่ผิดกฎหมาย มีลักษณะเป็นกิจการใต้ดิน
ที่ใช้แรงงานอพยพเป็นเครื่องมือในสถานการณ์ไม่ปกติ
• รับรองและกำาหนดมาตรการที่ไม่ด้อยไปกว่าระดับที่มีอยู่ โดยการให้หลักประกันเงื่อนไข
การทำางาน และการดำารงชีวิตของแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัวของเขา
• อำานวยการให้เกิดการ “แรงงานคืนถิ่น” กลับสู่ประเทศของตน ในกรณีจำาเป็น เช่น
การนำาศพผู้เสียชีวิต (ซึ่งอาจเป็นแรงงานอพยพ หรือพี่น้องสมาชิกในครอบครัว)
กลับถิ่นเกิด เป็นต้น
• ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่จะต้องดำาเนินการเรื่องการชดเชย เยียวยา หากแรงงานอพยพ
หรือสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต