Page 115 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 115
114
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
เป็นที่น่าสังเกตว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ยุคประชาธิปไตยภายหลังจากที่เผด็จการมาร์คอสถูกโค่นล้มลง
เนื่องจากการโกงการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ และเมื่อประธานาธิบดี คอราซอน อาคีโน
ได้เข้ารับตำาแหน่ง จึงได้ตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประธานาธิบดี (Presidential Human
Rights Commission) ขึ้นในปีนั้น ปีถัดมาจึงได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญระบุให้มี กสมฟ. ขึ้น นับแต่นั้น
แนวคิดสิทธิมนุษยชนก็ได้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นตามลำาดับ และที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานภาครัฐ
จำานวนไม่น้อยได้ซึมซับเอาสิทธิมนุษยชนมาเป็นสารัตถะสำาคัญในภารกิจของหน่วยงานของตน ทั้งนี้
รวมถึงคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (National Economic and Development
Authority : NEDA) ซึ่งมีความสำาคัญในระดับยุทธศาสตร์ ก็ได้ระบุไว้ในเอกสารรายงาน โดยให้คำานิยาม
การใช้แนวทางสิทธิมนุษยชนในการวางแผนการพัฒนา ไว้ว่า
“การใช้แนวทางสิทธิมนุษยชนในการวางแผนการพัฒนา เป็นกรอบคิดในการจัดทำานโยบาย
โครงการ และยุทธศาสตร์ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ กรอบเวลาที่ชัดเจน และถูกกำากับไว้ด้วยตัวมาตรวัด
ตามเกณฑ์สิทธิมนุษยชน หลักการ และมาตรฐานสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนา
ทุกภาคส่วนให้มีความเสมอภาค เท่าเทียม และยั่งยืน นำาไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี”
๔.๒.๓.๒ ปทัสถ�นท�งกฎที่ใช้เป็นกรอบก�รพัฒน�ตัวชี้วัด
โดยที่ กสมฟ. เพิ่งริเริ่มโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดดังกล่าว และยัง
พัฒนาตัวชี้วัดยังไม่แล้วเสร็จ ในขณะที่องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ และหนึ่งในจำานวนนั้น
นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ Ms. Ma Socorro Diokno
ได้จัดทำาเครื่องมือในการประเมินสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น ๒๒๙ ซึ่งเป็นรายงานศึกษาที่น่าสนใจขึ้นมา
ก่อนหน้านั้น รายงานดังกล่าวได้รับความสนใจ และความร่วมมืออันดีจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กสมฟ. และหน่วยงานของสหประชาชาติ
และองค์การระหว่างประเทศ อาทิเช่น UNDP, UNFPA, UNICEF, UNIFEM, UNAIDS, WHO, ILO
เป็นต้น
ในที่นี้ จึงขอนำาเกณฑ์ชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากกฎหมายสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญา
ระหว่างประเทศ มาเสนอพอสังเขปดังตาราง ดังนี้ ๒๓๐
๒๒๙ Diokno, Ma. Socorro, “HRBA Toolkit – Human Rights-Based Approach – Development Toolkit”, [online]
Available at <http://www.hrbatoolkit.org > (10 Sep 2011)
๒๓๐ ibid.