Page 146 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 146
อำานาจหน้าที่ในการพัฒนาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำาไปสู่การสร้างกรอบความร่วมมือ
ด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะจัดทำาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน
เป็นแนวทางการปฏิบัติให้รัฐสมาชิก
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนจึงจำาเป็นต้องเตรียมความพร้อม
สำาหรับการเกิดประชาคมอาเซียนดังกล่าว และแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยมาเป็น
เวลากว่า ๔๐ ปี นับตั้งแต่สมัยสงครามอินโดจีนจนถึงปัจจุบัน กฎหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทยก็มิได้
ยอมรับการมีตัวตนของผู้ลี้ภัย ซึ่งย่อมปัญหาต่อการบริหารจัดการประชากรของประเทศไทย
ดังนั้น การรวมเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ จะทำาให้ปัญหาในการบริหารจัดการ
กลุ่มผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่มีอยู่ในแต่ละประเทศทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากประชาคมอาเซียนจะทำาให้การ
เคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศทำาได้ง่ายขึ้น อาจทำาให้มีผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่ม
จำานวนขึ้นด้วย
ในการเดินทางเข้าและออกจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำาเป็นต้องสร้างมาตรฐานกฎหมาย
คนเข้าเมืองของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและคำานึงถึงสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อพิจารณา
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ จะเห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมอาเซียน โดยเฉพาะ
หลักสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย
ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้มีการพัฒนาด้านการคุ้มครองผู้ลี้ภัย บางประเทศ
กำาลังทบทวนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ และการอนุวัติกฎหมายภายใน
ประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซียกำาลังอนุวัติกฎหมายภายในเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ
มาเลเซียกับประเทศออสเตรเลีย เห็นว่า ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น หลาย
ประเทศได้มีการดำาเนินการหรือมีกฎหมายภายในที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑
เรียบร้อยแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำาเนินการ ประเทศไทยก็จำาเป็นต้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้
อยู่ในกรอบและมาตรฐานเดียวกัน
๒. เพื่อลดและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
แม้ประเทศไทยจะเป็นภาคีของพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ๗ ฉบับ
แต่ยังคงประสบปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอย่างต่อเนื่อง ปรากฏจากเรื่อง
ร้องเรียนที่ส่งมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย
ตัวอย่างเช่น
คำาร้องที่ ๕๔/๒๕๕๔ กรณีชาวโรฮิงญาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยถูกเจ้าหน้าที่ตำารวจจับกุม
และกักขังไว้ในห้องกักจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา สงขลา
คำาร้องที่ ๓๘๘/๒๕๕๔ กรณีชาวโซมาเลียถูกกักกันที่ห้องกักผู้โดยสารต้องห้ามท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิโดยไม่มีกำาหนดเวลาสิ้นสุด
คำาร้องที่ ๕๙๘/๒๕๕๔ กรณีชาวอินโดนีเซีย คองโก ชาวเวียดนาม และชาวกัมพูชา ถูกกักกัน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒