Page 147 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 147
ณ สถานกักกันคนต่างด้าวของสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือชาวปากีสถาน
้
ที่นับถือนิกายอะมาดีห์และชาวลาวม้ง ที่ห้วยนำาขาว
เมื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า สาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ดังกล่าวมีที่มาจากข้อจำากัดของกฎหมายที่ใช้บังคับ กล่าวคือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ไม่เอื้อต่อการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย ทำาให้ผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานโดย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เรื่องการถูกกักกันโดยไม่มีกำาหนดเวลาสูงสุด ในสภาพห้องกักที่ไม่ถูกสุขอนามัย
การถูกผลักดันออกนอกประเทศให้เผชิญกับการประหัตประหารโดยไม่สมัครใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีเด็กเล็กที่ติดตามพ่อแม่ที่เป็นผู้ลี้ภัยหรือเข้ามาเพื่อแสวงหาที่ลี้ภัยนั้น
หากถูกกักตัว การกักจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และศักยภาพในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ของเด็ก การกักตัวจึงควรเป็นมาตรการสุดท้ายที่นำามาใช้กับเด็กที่ติดตามพ่อแม่เข้ามา ในกรณีที่ไม่สามารถ
ใช้มาตรการอื่นใดได้แล้วเท่านั้น และการกักตัวนั้นต้องกักตัวเป็นระยะเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำาได้
ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวอีกต่อไป ประเทศไทยจึงควร
ปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองในสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานระหว่างประเทศ
๓. เพื่อสร้างบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ทำาหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา การดูแลผู้ลี้ภัยในประเทศไทยอาศัยอำานาจฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
มติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ ภายใต้แนวนโยบายความมั่นคงของชาติเป็นหลัก ในขณะที่
ปัจจุบันสังคมการเมืองได้ก้าวข้ามเขตแดนรัฐชาติเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวสู่ยุคโลกาภิวัตน์
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองจำาเป็นต้องมีกฎเกณฑ์
และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนต่อผู้ลี้ภัย แต่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งได้บังคับใช้เป็นเวลา
กว่า ๓๐ ปี มิได้มีการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย ทำาให้ผู้ลี้ภัยหรือแสวงหาที่ลี้ภัยผ่านเข้ามาในประเทศไทย
ด้วยเจตนาที่ต้องการเดินทางไปลี้ภัยในประเทศที่สามถูกจับกุมคุมขังโดยไม่กำาหนดเวลาในข้อหา “หลบหนี
เข้าเมืองผิดกฎหมาย” และมีคนต่างด้าวซึ่งแอบอ้างว่าเป็นผู้ลี้ภัยเพื่อพักพิงในประเทศไทยเป็นจำานวนมาก
การดูแลคนกลุ่มนี้ก็มิได้มีการกำาหนดกรอบเวลาในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแต่ประการใด ทำาให้
เป็นภาระแก่ประเทศไทยอย่างยิ่ง อีกทั้ง การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยของสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย
แห่งสหประชาชาติใช้เวลานานและไม่แน่นอน
จึงควรปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การลี้ภัยจริง
และลดภาระอันหนักจนเกินควรของประเทศไทย โดยสามารถใช้ตัวอย่างจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิค เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งได้ลงนามในความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับสำานักงาน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)
เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ในกรณีผู้ลี้ภัยที่ต้องได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศเป็นการเร่งด่วน
โดยข้อตกลงดังกล่าว ได้กำาหนดให้องค์การระหว่างประเทศ เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นผู้รับผิดชอบ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒