Page 149 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 149
ครบถ้วน ซึ่งบุคคลในที่นี้ย่อมรวมถึงผู้ลี้ภัย ซึ่งมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย
เนื่องด้วยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้มีการรับรองและให้การคุ้มครอง
สิทธิของผู้ลี้ภัย ทำาให้ผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถูกกักกัน
โดยไม่มีกำาหนดเวลาสูงสุดในสภาพห้องกักที่ไม่ถูกสุขอนามัย ถูกส่งออกนอกประเทศให้เผชิญกับการ
ประหัตประหาร ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศทั้งที่ประเทศไทยเป็นภาคี
และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้ลี้ภัย ประเทศไทยจึง
จำาเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ๒๕๒๒ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว
๕. เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับจากการนำาเสนอ
รายงานประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
(Universal Periodic Review – UPR)
กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review - UPR) เป็น
กลไกใหม่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเคารพ
สิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศโดยเท่าเทียมกันและพิจารณาการเคารพสิทธิ
มนุษยชนประเภทต่างๆในภาพรวมบนหลักการของความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกันระหว่างสิทธิต่างๆ โดยรัฐ
ที่ถูกทบทวน (State under review) จะต้องส่งรายงานของประเทศ (national report) ให้กับคณะมนตรี
สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ผ่านทางสำานักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งมีหน้าที่อำานวยความสะดวกให้กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติจะรวบรวม
รายงานอีกสองฉบับ คือ ฉบับผู้มีส่วนร่วม (stakeholder report) คือ รายงานจากองค์กรพัฒนาเอกชน
อีกฉบับ คือ รายงานขององค์การสหประชาชาติ รายงานทั้งสามฉบับจะเปิดเผยกับองค์การสหประชาชาติ
และเผยแพร่ให้รัฐอื่นเพื่อให้รัฐอื่นได้จัดทำาข้อแนะนำา (recommendation) หรือการสอบถามก่อนการ
ประชุมไปยังประเทศที่จะถูกตรวจสอบล่วงหน้า
ประเทศไทยได้เข้าสู่การตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ UPR ในการ
ประชุม ครั้งที่ ๑๒ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และคณะทำางาน
UPR ได้เสนอรายงานผลการตรวจสอบประเทศไทยต่อที่ประชุม ในสมัยที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ผู้แทน
ประเทศไทยได้นำาเสนอรายงานประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางาน UPR147โดยตัวแทนของหลายประเทศ
ได้ให้ความสนใจการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้ลี้ภัยของผู้ลี้ภัย และการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา
ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ ของประเทศไทย อาทิ ข้อเสนอแนะของประเทศแคนาดาที่เสนอให้
ประเทศไทย “เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และพิธีสาร ๑๙๖๗ /ประกัน
การเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับในกรณีของผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้ลี้ภัย/หลีกเลี่ยงการปิดพื้นที่ชายแดน
ตะวันตกก่อนเวลาอันสมควร ในขณะที่เงื่อนไขสำาหรับการกลับโดยสมัครใจ ปลอดภัย และสมศักดิ์ศรี
ยังไม่พร้อม/ดูแลความต้องการด้านความคุ้มครองของกลุ่มชนเปราะบางต่างๆ อาทิ กลุ่มชาวโรฮิงญา
โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ”
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒