Page 148 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 148

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเดินทางระหว่างที่ผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ และตลอดจนค่าใช้จ่ายในการ
                  เดินทางไปตั้งรกรากในประเทศที่สาม ค่าการตรวจโรคก่อนเดินทางเข้าและออกจากประเทศฟิลิปปินส์

                  และการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำาหรับการตั้งรกรากในประเทศที่สาม


                         ๔.  เพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศและหลักการสิทธิมนุษยชนสากล

                             สิทธิในการลี้ภัยเป็นสิทธิที่ได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ

                  ตัวอย่างประการหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำาคัญของสิทธิในการขอลี้ภัย คือ การได้รับการบัญญัติไว้ใน
                  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งแม้จะไม่มี

                  ค่าบังคับทางกฎหมาย  แต่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็เป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ
                  ที่สำาคัญอื่นๆ หลายฉบับ  และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                  เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้กล่าวถึงสิทธิในการลี้ภัยว่า “บุคคล
                  มีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง”

                             ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ๗ ฉบับ แต่ประเทศไทย
                  ยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย

                  ซึ่งแม้ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑  แต่ก็มีพันธะในการให้ความ
                  ช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

                                                                                            ่
                  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัต หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี
                  ค.ศ. ๑๙๘๔  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                             นอกจากนี้ ผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กสมควรได้รับความคุ้มครองพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ
                  และกฎหมายภายในเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง (vulnerable group)  แต่ในความเป็นจริง

                  เด็กกว่าร้อยคนถูกกักกันในสถานกักตัวคนต่างด้าว ถูกจำากัดอิสรภาพ ด้วยสาเหตุเพียงเพราะไม่มีเอกสาร
                  ประจำาตัวที่ถูกต้อง  และเด็กส่วนใหญ่ถูกกักตัวหลังจากหนีจากการถูกทำาร้าย ปัญหาความยากจน และ

                  ภัยสงคราม  การกักตัวเด็ก ซึ่งเป็นวิธีที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ นำามาปฏิบัติในการควบคุมคนเข้าเมือง
                  และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้วิธีการกักตัวด้วยสาเหตุการตรวจคนเข้าเมืองกับเด็ก  และมีการ

                  ส่งผู้ลี้ภัยเด็กกลับไปเผชิญอันตรายในประเทศต้นทางบ่อยครั้ง
                             แม้ประเทศไทยจะยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แต่ประเทศไทย

                  ก็ไม่อาจปฏิเสธพันธกรณีที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเข้าเป็นภาคี
                  อยู่แล้วที่จะต้องให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย เช่น การคุ้มครองจากการจับกุมกักขังตามอำาเภอใจ ในมาตรา ๙

                  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

                  พ.ศ. ๒๕๔๖ และพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
                  และสิทธิทางการเมือง  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปะติบัติหรือการ

                                                  ่
                  ลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔ ได้รับรองสิทธิมนุษยชนของบุคคลไว้อย่าง


        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153