Page 150 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 150

หากประเทศไทยต้องการเข้าเป็นภาคีนุสัญญาฉบับดังกล่าว จำาเป็นต้องจัดเตรียมความพร้อม
                  เชิงกฎหมายและนโยบาย ซึ่งการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ๒๕๒๒ นี้  จะเป็นการเตรียมความ

                  พร้อมทางกฎหมายที่สำาคัญประการหนึ่งของประเทศไทย  นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีกฎหมายระบุ

                  อย่างชัดเจนว่า ผู้ลี้ภัยสามารถอยู่ในประเทศไทยได้หรือไม่ ถ้าอยู่ได้มีสถานะอย่างไร ก็จะทำาให้เจ้าหน้าที่
                  ที่ทำางานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยสามารถทำางานได้สะดวกขึ้น




                  ร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่…) พ.ศ. …


                                                          ร่าง
                                         พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่…)  พ.ศ. ….






                                   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
                                                  …………………………………

                         มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่…) พ.ศ. …”
                         มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำาหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา

                  นุเบกษาเป็นต้นไป
                         มาตรา ๓  ให้เพิ่มเติมบทนิยามคำาว่า  “ผู้ลี้ภัย”  ระหว่างบทนิยามคำาว่า  “คนต่างด้าว”  และ

                  “พาหนะ” ใน มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
                         มาตรา ๔  ผู้ลี้ภัย  หมายความว่า  บุคคลที่อยู่นอกอาณาเขตรัฐแห่งสัญชาติหรือรัฐที่มีภูมิลำาเนา

                  ของตน และด้วยความหวาดกลัวซึ่งมีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะได้รับการประหัตประหารด้วยสาเหตุทาง
                  เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ  สมาชิกภาพในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ว่าทางสังคมหรือทางความคิดเห็นทาง

                  การเมือง  และในขณะเดียวกันบุคคลนั้นก็ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะรับความคุ้มครองจากรัฐแห่ง
                  สัญชาติ เนื่องจากความหวาดกลัวดังกล่าว  หรือนอกจากนี้เป็นบุคคลไร้สัญชาติซึ่งอยู่นอกอาณาเขตรัฐ

                  ที่เดิมมีถิ่นฐานพำานักประจำาแต่ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะกลับไปเพื่อพำานักในรัฐดังกล่าว ด้วยเหตุแห่ง
                  ความหวาดกลัวข้างต้น

                         ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง ผู้อยู่ในความอุปการะของบุคคลดังกล่าวข้างต้น
                         มาตรา  ๔  ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๖  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒  และให้ใช้ความ

                  ต่อไปนี้แทน
                         “มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวง

                  มหาดไทยเป็นประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ  ผู้บัญชาการตำารวจแห่งชาติ  อธิบดี
                  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  อัยการสูงสุด  เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  เลขาธิการ

                  สภาความมั่นคงแห่งชาติ  ผู้อำานวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  อธิบดีกรมพัฒนา



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155