Page 292 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 292
ศาล แล้วเสนอค าวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลพิจารณาสั่งการตามแต่จะ
เห็นสมควร อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายให้พัฒนาคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้
ท าหน้าที่ศาลปกครองอย่างเต็มรูปแบบตามเจตนารมณ์เดิมในการตรากฎหมายว่าด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา โดยให้ด าเนินการให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538
ส่วนกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์นั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามค าแนะน า
ของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทาง
นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ และมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายก าหนดไว้ โดยมีวาระการด ารงต าแหน่ง
คราวละสองปี และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากต าแหน่งแล้วอีกก็ได้
คณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์และคณะอนุกรรมการ มีโครงสร้างและอ านาจหน้าที่ ดังนี้
(อักขราทร จุฬารัตน, 2554)
1. คณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการไม่น้อยกว่า 6 คน
ประธานและคณะกรรมการแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการ ด้วยความเห็นชอบของสภา
ผู้แทนราษฎร คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งต้องเคยเป็นข้าราชการซึ่งด ารงต าแหน่งไม่ต ่า
กว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า และต้องไม่เป็นข้าราชการประจ า โดยมีวาระการด ารงต าแหน่ง 2 ปี
2. คณะอนุกรรมการมีจ านวนไม่เกิน 5 คน และอย่างน้อย 2 คน ต้องเป็นบุคคลที่ผู้เสนอ
เรื่องราวร้องทุกข์ระบุขอให้ตั้งเป็นอนุกรรมการ เว้นแต่ผู้เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ไม่ได้ระบุขอ และ
คณะอนุกรรมการต้องไม่เป็นข้าราชการประจ า
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 13/1 ให้ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาด าเนินการคัดเลือกรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 ซึ่งมีความ
เชี่ยวชาญในระดับสูงสมควรเป็นกรรมการกฤษฎีกา โดยให้มีจ านวนที่เหมาะสมในการปฏิบัติตาม
อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ประธาน
กรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะตามมาตรา 15 เป็นกรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วแจ้งผลให้นายกรัฐมนตรีน าความ
กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
ให้ประธานกรรมการกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกและการพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งก าหนด
มาตรา 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการกฤษฎีกาประชุม
ปรึกษาหารือกันเป็นคณะ ซึ่งคณะหนึ่งๆ ต้องมีกรรมการกฤษฎีกาไม่น้อยกว่าสามคน และใน
ั
กรณีที่มีปญหาส าคัญให้กรรมการกฤษฎีกาประชุมปรึกษาหารือกันโดยที่ประชุมใหญ่กรรมการ
- 243 -