Page 291 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 291
สมควรด าเนินการพัฒนาในรูปแบบเดียวกัน เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายปกครอง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการได้ต่อไป
้
โดยแนวคิดและเปาหมายดังกล่าว ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เสนอให้มีการ
ตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ขึ้น เพื่อปรับปรุงการจัดองค์กร อ านาจ
หน้าที่และกลไกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาเสียใหม่โดยก าหนดแผนงานและ
ขั้นตอนของการพัฒนาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาคดี
ปกครองขึ้นในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้น เพื่อท าหน้าที่
วินิจฉัยข้อพิพาทในคดีปกครองต่างหากจากคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งยังคงไว้เช่นเดิม
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกฤษฎีกา
ประกอบด้วย กรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการร่างกฎหมายท าหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายให้แก่
รัฐบาล และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ท าหน้าที่วินิจฉัยร้องทุกข์ (คดีปกครอง) โดยมี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยต าแหน่ง ท าหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของ
คณะกรรมการกฤษฎีกา และมีเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นกรรมการร่างกฎหมาย
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์โดยต าแหน่งท าหน้าที่ควบคุมดูแลราชการของส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาโดยรับผิดชอบขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1. กรรมการร่างกฎหมาย มีอ านาจหน้าที่ในการจัดท าร่างกฎหมายรับปรึกษาให้ความเห็น
ทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือตามค าสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจน
เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือ
ยกเลิกกฎหมาย ซึ่งคล้ายคลึงกับอ านาจหน้าที่ของกรรมการร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่า
ด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาพุทธศักราช 2476
ส าหรับกรรมการร่างกฎหมายนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นตามค าแนะน า
ของคณะรัฐมนตรี จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ และมี
คุณสมบัติตามที่กฎหมายก าหนดไว้ โดยมีวาระการด ารงต าแหน่งคราวละสามปี และจะทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากต าแหน่งแล้วอีกก็ได้
2. กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีอ านาจหน้าที่ในการวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ซึ่งคล้ายคลึงกับ
อ านาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์” ตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ .ศ.
2492 แต่ต่างจากอ านาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการกฤษฎีกา” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476 ในแง่ที่ว่า กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ยังไม่มีอ านาจที่
จะพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้ด้วยตนเองเหมือนกับกรรมการกฤษฎีกา โดยมีอ านาจหน้าที่
แต่เพียงพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวิธีพิจารณาคดีในลักษณะเดียวกับการพิจารณาคดีของ
- 242 -