Page 225 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 225
3. ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วเพื่อมีมติเลือกผู้ที่
ได้รับการเสนอชื่อตาม (2) ให้เหลือจ านวนสองในสาม ซึ่งต้องกระท าโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้
ให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนเป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่จ านวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบตาม (3) วรรคหนึ่ง ให้น ารายชื่อผู้ไม่ได้รับ
เลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และ
ในการนี้ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามล าดับจนครบจ านวนที่ก าหนดตาม (3)
วรรคหนึ่ง เป็นผู้ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในล าดับใด
อันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินจ านวนที่ก าหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจับสลากว่าผู้ใดเป็น
ผู้ได้รับเลือก และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกต่อประธานสภาภายใน
เจ็ดวันนับแต่วันเลือกเสร็จสิ้น
4. ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตาม (3)
จ านวนไม่เกินสามคน ซึ่งต้องกระท าโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมี
คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภาตามล าดับ เป็นผู้ได้รับเลือก
เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในล าดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ที่ได้รับเลือกเกินสามคน ให้
ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
5. ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตาม (4) ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานสภา
ผู้แทนราษฎรทราบและให้ด าเนินการตาม (1) (2) และ (3) ใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่
ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ให้น าบทบัญญัติใน (4) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 7 ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่วุฒิสภาเลือกตามมาตรา 6 (4) ยังไม่
ถึงจ านวนสามคน สภาผู้แทนราษฎรจะด าเนินการเลือกผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของ
รัฐสภาเพิ่มเติมเสนอต่อประธานวุฒิสภาก็ได้ ทั้งนี้ ให้น าบทบัญญัติมาตรา 6 มาใช้บังคับโดย
อนุโลม
มาตรา 8 ให้ประธานวุฒิสภาน ารายชื่อผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาตามมาตรา 6
หรือมาตรา 7 ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของ
รัฐสภาต่อไป
มาตรา 9 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการด ารงต าแหน่งหกปีนับแต่วันที่
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ด ารงต าแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาซึ่งพ้นจากต าแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะ
มีการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาขึ้นใหม่
- 180 -