Page 228 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 228
2. โครงสร้างให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินคนหนึ่งท าหน้าที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมา
จากการประชุมและเลือกกันเอง
ั
ปจจุบันมีผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย
1. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. นายประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน
5.3.4 อ านาจหน้าที่/ขอบเขตความรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542
มาตรา 16 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
, 2547)
1. พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามค าร้องเรียนในกรณี
1.1 การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออ านาจหน้าที่ตาม
กฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
1.2 การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง
ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอ านาจ
หน้าที่ก็ตาม
1.3 กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
2. จัดท ารายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
มาตรา 17 ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็น
ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
หรือศาลปกครอง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
มาตรา 18 ในกรณีที่มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาหลายคน การปฏิบัติ
หน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาร่วมกันพิจารณาแบ่ง
งานตามสายงานเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระ และ
รับผิดชอบตามขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมายตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภาร่วมกันก าหนด เว้นแต่กรณีตามมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 21 วรรคสอง
มาตรา 27 (5) และ (6) มาตรา 30 วรรคสอง มาตรา 31 วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 33
- 183 -