Page 229 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 229
มาตรา 39 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 48 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของ
รัฐสภาปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน
ในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อด าเนินการในเรื่องที่ก าหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ต้องปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันตามวรรคหนึ่งให้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนหนึ่งท าหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา 19 บุคคลและคณะบุคคลย่อมมีสิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
อ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ที่ได้ก าหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอ านาจหน้าที่เพิ่มเติมจากเดิม
ประกอบด้วย
มาตรา 244 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามค าร้องเรียนในกรณี
1.1 การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออ านาจหน้าที่ตาม
กฎหมายของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น
1.2 การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือ
ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วย
อ านาจหน้าที่ก็ตาม
1.3 การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่
ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทั้งนี้ไม่รวมถึง
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล
1.4 กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
2. ด าเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามมาตรา 279* วรรคสาม และมาตรา 280*
3. ติดตาม ประเมินผล และจัดท าข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญรวมตลอดถึง
ข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจ าเป็น
- 184 -