Page 227 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 227

คิดเห็นจากประชาชนเป็นการทั่วไปด้วยและเมื่อจัดท าร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการ

                  ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญด้วย  ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ได้ก าหนดกรอบการร่าง

                  รัฐธรรมนูญไว้คือ

                         1. การคุ้มครองส่งเสริมและการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
                         2. การลดการผูกขาดอ านาจรัฐและขจัดการใช้อ านาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม

                         3. การท าให้การเมืองมีความโปร่งใสมีคุณธรรมและจริยธรรม

                         4. การท าให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                         จากกรอบการร่างรัฐธรรมนูญทั้ง  4  ข้อดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ

                  อ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นอย่างมากและที่ส าคัญได้เปลี่ยนแปลงสถานะ

                  ขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่จากเดิมบัญญัติในหมวดรัฐสภามาบัญญัติไว้ในหมวด

                  11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญและได้เปลี่ยนชื่อจาก“ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” เป็น “ผู้ตรวจการ

                  แผ่นดิน” ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 242-245 และในบทเฉพาะกาลมาตรา 299 บัญญัติให้ผู้ตรวจการ

                  แผ่นดินของรัฐสภาซึ่งด ารงต าแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินตาม
                  บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550  ด้วยรวมทั้งบทเฉพาะกาลมาตรา  302  บัญญัติให้

                  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 มีผลบังคับ

                  ใช้ต่อไป

                         หลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.  2550  เมื่อวันที่  24

                  สิงหาคม  พ.ศ. 2550  นั้นจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินของ

                  รัฐสภาของไทยครั้งยิ่งใหญ่ทั้งในด้านชื่อ สถานะ โครงสร้างและการบริหารจัดการดังต่อไปนี้

                         1. สถานะ
                         ผู้ตรวจการแผ่นดินมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมาจากการแต่งตั้งของ

                  พระมหากษัตริย์ตามค าแนะน าของวุฒิสภาซึ่งคัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาจาก

                  บุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนมีความรู้และประสบการณ์และมีความซื่อสัตย์สุจริต

                  เป็นที่ประจักษ์มีจ านวน 3 คน มีวาระการด ารงต าแหน่ง 6  ปีและสามารถด ารงต าแหน่งได้เพียง

                  วาระเดียว












                                                          - 182 -
   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232