Page 222 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 222
5.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
5.3.1 สถานการณ์ปัญหาที่ส าคัญของประเทศ/ภูมิภาค
จากการศึกษารายงานประจ าปีของส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (2555) พบว่า
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนจ านวนมาก และ ในจ านวนนี้มี
ั
หลายเรื่องที่มีมูลเหตุมาจากปญหาที่มีความซับซ้อนอยู่ในความสนใจของสาธารณะ ดังนั้น เพื่อให้
การพิจารณาด าเนินการเป็นไปด้วยความละเอียดรอบครอบผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้ก าหนดให้มี
การประชุมระหว่างผู้ตรวจการแผ่นดินขึ้นเพื่อร่วมหารือและพิจารณาเรื่องร้องเรียนอย่างใกล้ชิด
เป็นประจ าในทุกสัปดาห์ มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งส่งผล
ต่อจิตใจของผู้ร้องเรียนเป็นอย่างมากว่าได้มีหน่วยงานที่อ านวยความเป็นธรรมที่เห็นความส าคัญ
่
ในทุกข์ประชาชนมาเยียวยา ความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างดียิ่ง เพราะการหารือสามฝาย
หรือการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐผู้ถูก
่
ร้องเรียนและฝายประชาชนผู้ร้องเรียน และสามารถยุติเรื่องร้องเรียนลงได้ด้วยความรู้สึกและ
ความเข้าใจอันดีต่อกัน
นอกจากนี้ ยังเป็นปีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีมีผู้กล่าวอ้างว่ามี
่
ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐกระท าการฝาฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวล
จริยธรรมไว้พิจารณาจ านวนมากด้วยเช่นกัน อันสะท้อนว่าสังคมเห็นความส าคัญและมีห่วงกังวล
ในเรื่องความประพฤติและการด ารงตนของบุคคลในฐานะผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง ซึ่งอ านาจรัฐอันอาจกระท าการซึ่งกระทบต่อ
สิทธิของประชาชน และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยรวมของรัฐ จึงสมควรด ารงตนใน กรอบแห่ง
จรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างแก่บุคคลโดยทั่วไป
ั
อย่างไรก็ดีการตรวจสอบจริยธรรมเป็นเพียงการแก้ไขปญหาที่ปลายเหตุ เพื่อด าเนิน
ั
ภารกิจด้านเกิดสัมฤทธิผลสมบูรณ์ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้มุ่งปลูกฝงจิตส านึกด้านจริยธรรมและ
หน้าที่พลเมืองที่ดีให้แก่ประชาชน โดยเน้นที่กลุ่มเยาวชนที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ ควบคู่
ไปกับการปลุกกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมหันมาตระหนักถึงความส าคัญของคุณธรรมจริยธรรม
มากกว่าการค านึงถึงแต่ประโยชน์ในแง่ความส าเร็จและความมั่งคั่งแต่เพียงอย่างเดียว
ความส าเร็จที่ผ่านมาของผู้ตรวจการแผ่นดินในการเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ร้องเรียน
และคืนความเป็นธรรมให้แก่สังคม ตลอดจนการมีข้อเสนอแนะอันน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงและ
ระบบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ย่อมไม่อาจ
เกิดขึ้นได้หากปราศจากความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการด าเนินภารกิจตาม
- 177 -