Page 141 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 141
ั
บัญญัติให้สิทธิมนุษยชน ได้รับการรับรองตามหลักสากล รัฐธรรมนูญของชาติ และหลักปญจศิลา
และประกาศรับรองอ านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ขจัด
ข้อครหาของสังคมโลกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เป็นอิสระ เพราะจัดตั้งขึ้นโดย
ค าสั่งประธานาธิบดี ในสมัย ซูฮาร์โต และกฎหมายอีกฉบับ คือ การจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชน
(Legislation No.39/2000 concerning Human Rights Courts) อีกทั้งเดือนกันยายน 2548
รัฐบาลพลเอกซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโนได้ส่งหนังสือแสดงความจ านงขอเข้าเป็นภาคีกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในปี 2536 นั้น มีผล
มาจากแรงกดดันของนานาชาติที่มีต่อประเทศอินโดนีเซีย และเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งใน
ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่กระนั้นสังคมนานาชาติต่างเห็นว่าคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติอินโดนีเซียนี้ไม่มีความเป็นอิสระมากพอในการด าเนินงาน เพราะในช่วง
ของประธานาธิบดีซูฮาร์โตนั้น คณะกรรมการจัดตั้งโดยค าสั่งประธานาธิบดีและคณะกรรมการก็
ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีซึ่งย่อมท าให้ไม่เกิดความเป็นธรรมตามสิ่งที่ควรจะเป็น
เนื่องจากการแต่งตั้งนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์และเป็นไปไม่ได้ที่ประธานาธิบดีจะตั้ง
ให้ใครมีอ านาจในการตรวจสอบการด าเนินงานของตัวเอง ที่ได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน ซึ่ง
ต่อมาในปี 2542 รัฐสภาอินโดนีเซียได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ มีอ านาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งไม่ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ
ประธานาธิบดีอีกต่อไป จึงท าให้การด าเนินงานนั้นท าได้ดีขึ้น
ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนใน ปี พ.ศ. 2543 ถือเป็นอีกความก้าวหน้าครั้ง
ส าคัญของอินโดนีเซียในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยมีรัฐบัญญัติ ฉบับที่ 26/ 2000
(Legislation No.26/2000 Concerning Human Rights Courts) เป็นกฎหมายที่ให้จัดตั้งศาลสิทธิ
มนุษยชน โดยในกฎหมายนี้ได้ให้นิยามความหมายของสิทธิมนุษยชนว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง
สิทธิของมนุษย์ซึ่งเป็นนฤมิตรกรรมของพระเจ้า ที่ต้องได้รับการเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ เป็น
้
หน้าที่ของรัฐ รัฐบาลและมีกฎหมายในการปกปองคุ้มครอง เพื่อการเคารพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของ
ความเป็นมนุษย์ (มาตรา 1) มาตรา 2 บัญญัติให้ศาลสิทธิมนุษยชนเป็นศาลพิเศษ ภายใต้เขต
อ านาจศาลทั่วไป สามารถตั้งขึ้นในเมืองหลวงของภูมิภาคหรือเมืองกึ่งเมืองหลวงของภาค เขต
อ านาจศาลนั้นให้เป็นไปตามอ านาจของศาลจังหวัด เมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ ให้เริ่มจัดตั้งศาล
สิทธิมนุษยชนที่ จาการ์ตาส่วนกลาง (Central Jakarta) เมืองสุราบายา เมืองเมดาน และเมือง
มากัสซา
- 97 -