Page 144 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 144
ทั่วไปใน 4 สาขาหลักในการน าไปปรับใช้ และแผนกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหน่วยงานที่
ต้องรับผิดชอบต่อกิจกรรมต่าง ๆ และระบุชัดเจนว่ายินดีรับความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ซึ่งมี
การปรับใช้แผนปฏิบัติการ ใน 4 สาขาหลัก (แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติอินโดนีเซีย อ้างถึงในกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 2555) ดังนี้
1. การเตรียมการให้สัตยาบันพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ในช่วงที่มีการ
ประกาศใช้แผนฯ อินโดนีเซียได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเพียง
จ านวน 2 ฉบับ จาก 6 ฉบับแผนฯ ระบุว่า “การให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิ
มนุษยชนจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและช่วยพัฒนากฎหมายภายในประเทศเรื่องสิทธิ
มนุษยชน” ในแผนกิจกรรมก าหนด แผน 5 ปี เพื่อให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชนที่เหลืออีก 4 ฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาอีกหลายฉบับขององค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ ในส่วนนี้ ประกอบด้วยข้อก าหนดทบทวนกฎหมายที่มีอยู่ และร่างกฎหมายใหม่ตามที่
จ าเป็น และก าหนดแนวทางการด าเนินงานส าหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย แผนฯ ยัง
ั
แก้ปญหาการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วย
2. การเผยแพร่ข้อมูลและการศึกษาสิทธิมนุษยชนแผนปฏิบัติการ เน้นความจ าเป็นในการ
ก าหนดมาตรการที่กว้างขวางในด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา เช่น
- การท างานภายใต้ทศวรรษสิทธิมนุษยชนศึกษา
- การจัดท าหลักสูตรสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน และสถานศึกษาระดับสูง รวมถึง
การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
- การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน รวมถึงการฝึกอบรมครู
- การให้การศึกษาต่อชุมชนและครอบครัวอย่างไม่เป็นทางการ
- การให้การศึกษาผ่านทางสื่อต่าง ๆ
3. การอนุวัติประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นประเด็นส าคัญล าดับต้น ๆ ในส่วนนี้ เน้น
ความส าคัญในการเผยแพร่มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องการต่อต้านการทรมานและการคุมขัง
ตามอ าเภอใจระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย การฝึกอบรมสิทธิมนุษยชนให้กับเจ้าหน้าที่ผู้
บังคับใช้กฎหมาย ข้อมูลกฎหมายมนุษยธรรมแผนพิเศษส าหรับผู้พิพากษาและอัยการ การ
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ต ารวจเพื่อคุ้มครองกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและการควบคุมกลุ่มชน
4. การอนุวัติสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่อินโดนีเซียให้สัตยาบัน ส่วน
นี้เน้นสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ที่อินโดนีเซียให้สัตยาบันในช่วงเวลาที่มี
การประกาศใช้แผนปฏิบัติการ คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการ
- 100 -